การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ
ผู้วิจัย : นายนิติ นิยมศิลป์ชัย
ปีการศึกษา : 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 2) สร้างสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 3) ทดลองใช้สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 4) ประเมินสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทและ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะครู จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 51 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 51 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นบุคลากรของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ เป็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิซาการ ครูวิชาการ จำนวน 9 คน โดยทุกกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินรูปแบบ และแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งได้ผ่านการหาคุณภาพของเครื่องมือเรียบร้อยแล้ว
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก และ 16 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) องค์ประกอบหลักที่ 1 กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 6 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1. การตัดสินใจ (Decision Making) 2. การวางแผน (Planning) 3. การประสานงาน (Coordinating) 4. การปฏิบัติการ (Operating) 5. การประเมินผล (Evaluating) และ 6. การปรับปรุงแก้ไข (Acting) 2) องค์ประกอบหลักที่ 2 หลักการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 10 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1. หลักความพอประมาณ 2. หลักความมีเหตุผล (Reasonableness) 3. หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 4. หลักการพึ่งตนเอง (Self-Sufficiency) 5. หลักคุณธรรม (Ethics) 6. หลักนิติธรรม (Rules of Law) 7. หลักความโปร่งใส (Transparency) 8. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) 9. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และ 10. หลักความคุ้มค่า (Worthiness) และผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยการสอบถามความคิดเห็น คณะครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบหลักในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากสอดคล้องกัน ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโท (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า ในภาพรวมระดับการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พบว่า ในภาพรวมรูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมากและผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดนมโฑ (สำนักงานสลากกินแบ่งสมทบสร้าง 338) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก