รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model
Model) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแบบยั่งยืน โรงเรียน
วัดบ้านหนองบัวศาลา
ผู้วิจัย นายชัยยศ ปัญญาสงค์
หน่วยงาน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัย รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแบบยั่งยืน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model) 2) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model) และ 4) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ในการดำเนินงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้าน หนองบัวศาลา ตามองค์ประกอบของการบริหารจัดการ 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการบริหารจัดการ และด้านประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โดยการศึกษาเอกสาร และการใช้แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนา จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากครูและบุคลากร จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 คน รวมจำนวนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 40 คน รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการกำหนดแนวทาง และยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model) ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการแบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model ) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา โดยนำร่างรูปแบบจากระยะที่ 1 มาตรวจสอบความเหมาะสม โดยใช้วิธีการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการแบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model) เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา โดยสอบถามความคิดเห็นของครูและบุคลากร โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 132 คน และตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 คน รวมจำนวนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้าน หนองบัวศาลา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กระบวนการบริหารจัดการ รองลงมา คือ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ปัจจัยการบริหารจัดการ
2. รูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model)
เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ประกอบด้วยหลักการ แนวคิดในการบริหารจัดการ 10 ประการ กระบวนการในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ 7 ขั้นตอน และองค์ประกอบในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืน ของนักเรียน 4 องค์ประกอบ คือ 1) บริบท 2) ปัจจัยการบริหารจัดการ 3) กระบวนการบริหารจัดการ และ 4) ประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แบบยั่งยืน
3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารจัดการ แบบ NONGBUA
EXCELLENT (NONGBUA ECL. Model) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืน ของนักเรียน โรงเรียนวัดบ้านหนองบัวศาลา ไปใช้ พบว่า ในภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินความเป็นไปได้ ในการนำรูปแบบไปใช้ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบยั่งยืนของนักเรียน และองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บริบท