LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพ    สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ผู้วิจัย    นางศันสนีย์ เผ่าจินดา ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย    2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานของการนิเทศการศึกษาและการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 4.1 ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4.2 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 223 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบและผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
    จากผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการคิด ในโรงเรียนในสังกัดเทศบาล
เมืองปัตตานี
1.1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการในการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริม การคิดในโรงเรียนใน
สังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี จากการสอบถามความคิดเห็น ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการคิดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพการดําเนินงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมการคิดของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ในปัจจุบันมีผลการดําเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยการดําเนินงาน เรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นทักษะการคิด การกําหนด เป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิด การจัดทําหลักสูตรบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ การคิด และการวัดและประเมินผลทักษะการคิด อยู่ในระดับปานกลาง
สําหรับความต้องการในการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ความต้องการในแต่ละด้านเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การวัดและประเมินผล ทักษะการคิด และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นทักษะการคิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการคิด การกําหนดเป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิด และการจัดทําหลักสูตรบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการศึกษาปัญหา และความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริมการคิดในโรงเรียนในสังกัดเทศบาล
เมืองปัตตานี โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Groups) สรุปได้ ดังนี้
1.2.1 ด้านการจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกไม่เพียงพอ
ไม่มีคุณภาพ ครูไม่ได้นํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนยังมีน้อย ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่เพียงพอ สถานที่จัดเก็บรักษาไม่เพียงพอ ครูที่ รับผิดชอบในการจัดสื่อมีน้อยเกินไป สําหรับความต้องการ ได้แก่ การปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ให้มากขึ้น พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้ทันสมัยและส่งเสริมการใช้อย่างต่อเนื่อง และมีการอบรมผลิตสื่อและ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอื่นที่เป็นต้นแบบ
1.2.2 ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูสอนโดยยึดกรอบเนื้อหาตาม หนังสือเรียน ขาดการ
ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ครูไม่มีการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลทักษะการคิดที่เชื่อมโยงมาตรฐานภาระงานมีมาก ครูต้องทํางานอื่นนอกเหนือจากงานสอน นักเรียน บางส่วนมี เจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูเน้นการท่องจําสูตรต่าง ๆ การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเน้นเกี่ยวกับวิชาการมากเกินไป ครูขาดการนํารูปแบบการสอนมาใช้ ส่วนใหญ่ จะเน้นวิธีสอนและเทคนิคการสอน การบรรยายหรือการอภิปรายการยกตัวอย่าง สําหรับความต้องการ ได้แก่ การเพิ่มพูนประสบการณ์ของครู การจัดให้ไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก
1.2.3 ปัญหาด้านการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดสรร
งบประมาณไม่เพียงพอ ระบบการนิเทศภายในขาดความเข้มแข็ง โรงเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ขาดความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายการเรียนรู้ สําหรับความต้องการได้แก่ การพัฒนาระบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
1.2.4 ปัญหาเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในรายวิชาหลักของนักเรียนยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่มาตรฐานการศึกษากําหนด ขาดทักษะในการใช้ กระบวนการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ค่อนข้างน้อย นักเรียนไม่สามารถนําความรู้ที่เรียนชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้ สําหรับความต้องการได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนและกระตุ้นให้ครูผู้สอนนําผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และมีดําเนินการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบที่ชัดเจน
        2. รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ระยะ
การใชรูปแบบการนิเทศรวมกัน (Collaborative Evaluation of Coaching Model Implementation: E)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการ
คิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของ
นักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารมีความสามารถในการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^