การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ขอ
นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัย นางปฐมา ชูศักดิ์
หน่วยงาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี (1.1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี (1.2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี (1.3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี (2.1) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี (2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอนในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 42 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 47 คน ผู้บริหารและรองผู้อำนวยการ คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ และการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2563-2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์เอกสารองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี พบว่าด้านภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษา และด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา มีความเหมาะสมในระดับมาก
2. การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี พบว่าด้านภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษา และด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา มีความเป็นไปได้ในระดับมาก และการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี ด้านพฤติกรรมภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 1) การจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน พบว่ามีการจัดโครงสร้างการทำงานอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน 2) การวางแผนองค์กรเพื่อการสอน พบว่าผู้บริหารมีการวางแผนองค์กรโดยการร่วมกันวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียน 3) การบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน พบว่าครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและครูนำหลักสูตรไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) การจัดโครงการพัฒนาบุคลากร พบว่าในแต่ละปีการศึกษามีโครงการพัฒนาบุคลากร 5) การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน พบว่าผู้บริหารให้ความสำคัญและเข้าร่วมในการวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ด้านการพัฒนาทีมงานวิชาการ 1) การรับรู้และค้นหาปัญหา พบว่าผู้บริหารและคณะครูร่วมกันอภิปรายและสรุปปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหาไว้เป็นสารสนเทศของโรงเรียน 2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าบุคลากรแต่ละฝ่ายได้ร่วมกันสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล 3) การวางแผนปฏิบัติงาน พบว่ามีการทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ ก่อนที่จะกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป 4) การนำแผนไปปฏิบัติ พบว่ามีการมอบหมายงานให้ครูตามความรู้ ความสามารถ มีการกำกับติดตาม ดูแลการปฏิบัติงาน 5) ทักษะการประเมินผลลัพธ์ พบว่าครูร่วมกันกำหนดการประเมินการประเมินเพื่อสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงาน ด้านผลการปฏิบัติตามแนวทางภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ 1) การพัฒนาหลักสูตร พบว่ามีแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่าโรงเรียนมีนโยบายให้ครูจัดทำแผนการสอนทุกคน ส่งครูเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทุกครั้งที่หน่วยงานทางการศึกษาจัดขึ้น 3) การวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน พบว่ามีการกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติของโรงเรียน ตั้งคณะกรรมการวัดผลและเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่าครูส่วนใหญ่ทำวิจัยเพื่อพัฒนางาน 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา พบว่าผู้บริหารมีความตระหนักและเห็นความจำเป็นของสื่อเทคโนโลยี ระดมทรัพยากรมาใช้ในการจัดซื้อสื่อเทคโนโลยี 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ พบว่าโรงเรียนได้จัดทำระบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา พบว่าโรงเรียนมีการจัดทำปฏิทินการนิเทศ 8) การพัฒนางานแนะแนว พบว่ามีโครงการพัฒนางานแนะแนวอยู่ในแผนปฏิบัติการประจำปี ใช้การพัฒนารูปแบบวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) 9) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่าโรงเรียน มีการจัดทำระบบคุณภาพภายในครอบคลุมทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 10) การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ท้องถิ่น พบว่ามีโครงการบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน ผลการปฏิบัติงานในดำเนินงานตามกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา พบว่า 1) ในการวางแผนงานวิชาการผู้วิจัยใช้หลักการมีส่วนร่วม 2) ผลการปฏิบัติในการนำแผนงานไปใช้ จากการสัมภาษณ์ครูวิชาการ สรุปได้ว่าในการนำแผนไปใช้ผู้บริหารและคณะครูได้ดำเนินงานตามแผนอย่างมีระบบ 3) ผลการปฏิบัติในการตรวจสอบ ประเมินผลในงานวิชาการ จากการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสารจากแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนเพื่อดูขั้นตอนในการประเมินผลงานนั้น สรุปได้ ว่าผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้รับผิดชอบร่วมกันวางกรอบการประเมินและจัดทำเครื่องมือการประเมินแต่ละชุดนำไปประเมินในแต่ละกิจกรรม 4) ผลการปฏิบัติในการปรับปรุงงานวิชาการ จากการสัมภาษณ์ครูวิชาการและคณะครู พบว่าโรงเรียนจะพิจารณาผลจากรายการประเมินที่มีความพึงพอใจที่มีค่าน้อยที่สุด
4. การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานและสร้างคู่มือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี พบว่าอยู่ในระดับมาก ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานไปใช้ คือ ควรแจ้งหรือประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรฝ่ายวิชาการทราบถึงภารกิจ ควรให้ครูผู้สอนซึ่งไม่ใช้บุคลากรฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมสังเกตการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน อื่น ๆ ระยะเวลาในการนำรูปแบบไปใช้อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา บุคลากรฝ่ายวิชาการบางท่านไม่เห็นความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม และการนำรูปแบบไปใช้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายวิชาการและบริบทขององค์กร
5. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระ ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี มีค่าเฉลี่ย 74.30 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบ การบริหารงานวิชาการแบบทีมงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุราษฎร์ธานี มีค่าเฉลี่ย 76.29 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมหลังใช้รูปแบบฯ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05