การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน
รายงานการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน โรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ได้กำหนดความมุ่งหมายของการรายงานไว้เพื่อศึกษาวิเคราะห์
ความต้องการจำเป็น ยกร่าง ตรวจสอบ ประเมินผล และประยุกต์ใช้ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจร
คุณภาพ แบบยั่งยืน สำหรับโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภายใต้สังกัด และกำกับดูแลของ
กระทรวงศึกษาธิการ มีขั้นตอนของการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการ
จำเป็น ดำเนินการศึกษาเอกสารวิชาการ คือ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ศาสตร์พระราชาและ
วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อวางแผนองค์ประกอบระบบ ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ออกแบบ วางแผน ดำเนินการกำหนดระบบทั้งรูปแบบเชิงโครงสร้างและรายละเอียดขององค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พิจารณา ความถูกต้องตามหลักการทางวิชาการ และความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมกิจกรรมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พิจารณาตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้ และความคุ้มค่าเมื่อนำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้ในโรงเรียนโดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ร่วมกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussions) และขั้นตอนที่ 5 นำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปประยุกต์ใช้พิจารณาจากแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรายงานผลการประเมินตนเอง
(Self Assessment Report : SAR) ในแต่ละขั้นตอนมีวัตถุประสงค์เฉพาะ แหล่งข้อมูล ตัวแปรที่ศึกษา วิธีดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงการสร้างและพัฒนาคุณภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลและเกณฑ์สำหรับการตัดสินผลการตรวจสอบ และประเมินผลระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน ผลการดำเนินงานได้ข้อค้นพบดังนี้ คือ
1. การศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน มีประเด็นศึกษาที่สำคัญ และเป็นหลักของการใช้เป็นแนวคิด และทฤษฎีพื้นฐานประกอบ การออกแบบ วางแผน พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการบริหารการศึกษาอย่างยั่งยืน เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA บริบทโรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ และแนวคิดเกี่ยวกับการประกันระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และสรุปผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายละเอียดความต้องการจำเป็น ที่เปลี่ยนองค์ความรู้สำหรับการสร้างและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพ
2. การกำหนดกรอบโครงสร้างในการยกร่างระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน
ซึ่งนำเสนอผ่านการจัดทำเป็นเอกสารนำเสนอระบบ จำแนกเป็น 4 ส่วนหลัก บรรณานุกรม และภาคผนวก โดย 4 ส่วน
หลักประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน ส่วนที่ 4 การนำระบบสู่การขับเคลื่อนภายในโรงเรียน การยกร่างระบบ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน มีรายละเอียดในนวัตกรรม “ระบบประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน โรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์”
ในเอกสารประกอบที่นำเสนอเป็นรูปเล่มควบคู่กับรายงานการพัฒนาฉบับนี้องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน ผู้รายงานสรุปผลประเด็นหลักของข้อค้นพบในการพัฒนาครั้งนี้ คือ การพัฒนา
ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน โรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ เชิงทฤษฎีและแนวคิด หลักการตามระเบียบกฎหมาย คือ
ศาสตร์พระราชา การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวง และวงจรคุณภาพเพื่อการบริหารจัดการคุณภาพแบบ PDCA ซึ่งนำเสนอผ่านรูปแบบที่ได้ เชื่อมโยงและบูรณาการ โดยยึดองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ
หลัก เพื่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามภาพประกอบดังนี้ คือ
ภาพประกอบแสดงรูปแบบระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน
รูปแบบระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน พัฒนาขึ้นบนพื้นฐาน กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3 กรอบ ดังนี้ คือ
1) กรอบแนวคิดจากการน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่รูปแบบระบบประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ นำกรอบแนวคิดศาสตร์พระราชาในประเด็นหลักการแนวคิดสำคัญสูงสุด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อเป็นแนวทางการวางแผน ออกแบบ การบริหารจัดการ
สถานศึกษาที่ตอบสนองกับการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการโรงเรียนบรรลุตามเจตนารมณ์ของการเพิ่มโอกาสให้การเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ บนพื้นฐานความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การน้อมนำหลักการบางส่วนมาสู่การบริหารจัดการโรงเรียน มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องประกอบรูปแบบของระบบ ตามภาพประกอบและรายการประกอบ ดังนี้ คือ
ภาพประกอบแสดงความสัมพันธ์และรายละเอียดศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
2) การประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพในระบบประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ นำกรอบแนวคิดหลักการของวงจรคุณภาพ สำหรับการบริหารจัดการคุณภาพที่รู้จักกันทั่วไปว่า วงจร PDCA เพื่อการวางแผนพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีระบบ
และต่อเนื่อง สร้างความรู้ความเข้าใจต่อระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้มีความถูกต้องที่จะดำเนินงานได้
อย่างมีความมั่นใจตามหลักการทางวิชาการ และมีขั้นตอนที่มีความชัดเจน ซึ่งสามารถเรียนรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกัน
ในการดำเนินงานภายในโรงเรียน สอดคล้องกับเป้าหมาย จุดประสงค์ และการออกแบบการจัดทำโครงการ กิจกรรม ตอบสนองต่อกลยุทธ์ของแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนร่วมกัน ซึ่งมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของระบบตามภาพประกอบและรายการประกอบ ดังนี้ คือ
ภาพประกอบแสดงวงจรคุณภาพภายในระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3) แนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โรงเรียนพัชรพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ดำเนินการจัดให้มีการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่มุ่งคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษา ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพ ติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนา
คุณภาพเป็นระบบ และต่อเนื่อง พร้อมกับจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง นำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่
กำกับดูแลคุณภาพเป็นประจำทุกปี และเตรียมการสถานศึกษาในองค์รวมรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งรายละเอียดของการพัฒนาระบบประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา มีดังนี้ คือ
ภาพประกอบแสดงกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3. การพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน ซึ่งรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ด้านความถูกต้องและด้านความเหมาะสมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละด้าน แต่ละข้อ มีความคิดเห็น ดังนี้ คือ
3.1 ด้านความถูกต้อง ผลพิจารณาตรวจสอบความคิดเห็นของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน มีดังนี้ คือ (1) ส่วนที่ 1 บทนำ ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (2) ส่วนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (3) ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของระบบประกัน ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (4) ส่วนที่ 4 การนำระบบสู่การขับเคลื่อนภายในโรงเรียน ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (5) บรรณานุกรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (6) ภาคผนวก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3.2 ความเหมาะสม ผลการพิจารณาตรวจสอบความคิดเห็นของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน มีดังนี้ คือ (1) ส่วนที่ 1 บทนำ ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (2) ส่วนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (3) ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของระบบประกัน ในภาพรวมและเกือบทุกข้อมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ยกเว้นข้อ 3.1 รูปแบบของระบบประกันฯ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (4) ส่วนที่ 4 การนำระบบสู่การขับเคลื่อนภายในโรงเรียน ในภาพรวมและทุกข้อที่พิจารณาตรวจสอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (5) บรรณานุกรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (6) ภาคผนวก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4. การพิจารณาประเมินผลความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน ซึ่งรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ด้านความเป็นไปได้และด้านความคุ้มค่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด
4.1 ด้านความเป็นไปได้ ผลการพิจารณาประเมินผลความคิดเห็นของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน มีดังนี้ คือ (1) ส่วนที่ 1 บทนำ ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (2) ส่วนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด
(3) ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของระบบประกัน ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผล
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (4) ส่วนที่ 4 การนำระบบสู่การขับเคลื่อนภายในโรงเรียน
ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด
(5) บรรณานุกรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (6) ภาคผนวก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านความคุ้มค่า ผลการพิจารณาตรวจสอบความคิดเห็นของระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน มีดังนี้ คือ (1) ส่วนที่ 1 บทนำ ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (2) ส่วนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (3) ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของระบบประกัน ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผล
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด (4) ส่วนที่ 4 การนำระบบสู่การขับเคลื่อนภายในโรงเรียน ในภาพรวมและทุกข้อที่มีการพิจารณาประเมินผลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด
(5) บรรณานุกรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (6) ภาคผนวก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
5. การนำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาองค์กรคุณภาพแบบยั่งยืน ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ได้ดำเนินการผ่านการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน แบ่งความรับผิดชอบตามกรอบงานผ่านแผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปี และดำเนินการภายในโรงเรียนที่สอดคล้องกับภารกิจการประกันคุณภาพภายใน มีการกำหนดมาตรฐาน การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี
การดำเนินการตามแผนที่กำหนด การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการสรุปเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) นำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ผลที่เกิดขึ้นจากการนำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพแบบยั่งยืน ไปประยุกต์ใช้ที่สำคัญของโรงเรียน
คือ แผนพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา และรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment
Report : SAR)