นวัตกรรม “7 DEE+ with Active Learning by PLC Model”
ในการออกแบบนวัตกรรม การพัฒนาโรงเรียน โดยใช้ “7 DEE+ with Active Learning by PLC Model”เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาพัฒนาทั้งทางกาย จิตใจ ปัญญา และ สังคม ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบนวัตกรรม ดังนี้
1. นวัตกรรมและการพัฒนานวัตกรรม
1.1 ความหมายนวัตกรรม
1.2 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1.3 แนวทางพัฒนากระบวนการบริหาร
1.4 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
2. การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
1. นวัตกรรมและการพัฒนานวัตกรรม
1.1 ความหมายของนวัตกรรม
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อสรุป ได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ความคิด กระบวนหรือวิธีการทำงานใหม่ การเปลี่ยนแปลง กิจกรรม ความคิด การมีหรือการปรับปรุง องค์การ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาหรือกิจกรรมที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นจึงหมายรวมในคำว่านวัตกรรมด้วย
1.2 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมที่นำมาใช้ในทางการศึกษา ทั้งการกระทำใหม่ใด ๆ การสร้างสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใด ๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1.2.1 นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
1.2.2 นวัตกรรมด้านวัดและประเมินผล
1.2.3 นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
1.2.4 นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
1.2.5 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
1.3 แนวทางการพัฒนากระบวนการบริหาร “7 DEE+ with Active Learning by PLC Model”
1.3.1 การพัฒนารูปแบบการนิเทศเชิงระบบ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครู
1.3.2 การบริหารแบบร่วมมือร่วมใจ เพื่อการพัฒนางานวิชาการ
1.3.3 การบริหารด้วยวัฎจักรเดรมมิ่ง เพื่อการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ
1.3.4 กระบวนการ PLC
1.3.5 การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
1.4 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
ขั้นตอนการวิจัยเชิงการพัฒนา ( Research and Development) โดยทั่วไปกำหนดเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในการขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
-ศึกษาเอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-ยกร่างนวัตกรรม (สื่อ วิธีการสอน หลักสูตร การวัดและประเมินผล และการะบวนการบริหาร)
-เสนอผู้เชี่ยวชาญ
-หาประสิทธิภาพ E1/E2
ขั้นที่ 2 ศึกษาผลการนำไปใช้
-นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย
-ทำการทดลองสอบผลและประเมินผลการใช้
-เปรียบเทียบก่อนใช้และหลังใช้ ( t-test แบบ t-pair )
ขั้นที่ 3 ประเมินผล
-ใช้แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดความคิดเห็น หรือ ใช้รูปแบบประเมินใดๆ เพื่อการประเมินผลการใช้นวัตกรรมนั้น
กล่าวโดยสรุป ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม เริ่มต้นด้วย การสร้างหรือการพัฒนา ซึ่งหมายถึงการยกร่างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่หรือการพัฒนานวัตกรรมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น จากนั้น ขั้นตอนการนำนวัตกรรมไปใช้ หมายถึง การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับรองว่ามีผลการใช้อยู่ในระดับดี โดยยืนยันจากผลการทดสอบ และในขั้นตอนสุดท้าย คือ การประเมินผลการใช้นวัตกรรม หมายถึง การสอบถาม ความคิดเห็น หรือความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมนั้นๆ ว่าดีมีประโยชน์ มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดีโดยยืนยันจากเครื่องมือการวัดและประเมินผลนวัตกรรม
2. การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกลเป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียน แก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก ครูสามารถจัดการเรียนรู้ ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนและครูได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย นักเรียนและครูมีเครือข่าย ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มายกระดับคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television ; DLTV) เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของครูอย่างครบถ้วน เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลดช่องว่าง สร้างความเท่าเทียม และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประชาชน และเป็นการดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทและสนองพระราชดำริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า โรงเรียนบ้านบึงพิชัย เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีขนาดเล็กแม้จะอยู่ในแหล่งชุมชนกึ่งเมือง
ของอำเภอหาดใหญ่ ที่ได้นำนโยบายสู่การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมจนประสบผลสำเร็จในเชิงประจักษ์ในระดับชาติจนเป็นต้นแบบสู่โรงเรียนขนาดเล็กในสังกัด จึงได้ทบทวนปรับปรุงพัฒนาผลงานสู่นวัตกรรมเด่น โดยมุ่งเน้นกระบวนการขับเคลื่อนร่วมกับกระบวนการสร้างเครือข่ายภายในเขตพื้นที่เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กให้สำเร็จบรรจุผลตามเป้าหมายและร่วมแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องของการขาดแคลนอัตรากำลังครู นักเรียนหลากหลายชาติพันธุ์อันเกิดจากการเข้ามารับจ้างภาคเกษตรกรรม