การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผู้วิจัย สัญญา โต๊ะหนู
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการสอนวิชาสังคมศึกษา แบบประเมินรูปแบบฯ แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาและแบบวัดความรับผิดชอบต่อสังคม และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคการสอนวิชาสังคม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการร่วมสนทนากับครูผู้สอน พบว่า ผู้สอนส่วนใหญ่สอนแบบบรรยายเนื้อหาตามหนังสือ ขาดเทคนิคและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทำให้เด็กนักเรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือฝึกแก้ปัญหาในห้องเรียน ทำให้ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เพราะเบื่อหน่ายต้องท่องจำทั้งในเนื้อหาวิชาที่หลากหลายหมวดสาขา และเนื้อหาสาระบางอย่างก็ไม่ได้นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 คิดค้นปัญหา ขั้นที่ 2 นำพาเข้าใจ ขั้นที่ 3 ใส่ใจเคร่งครัด ขั้นที่ 4 ร่วมจัดกติกา ขั้นที่ 5 พาสู่กิจกรรม ขั้นที่ 6 นำเสนอผลงาน และขั้นที่ 7 สืบสานประเมินค่า และการวัดผลประเมินผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคม หลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินรูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Name of Research Research and development of a problem-based teaching model based on knowledge-building theory to promote problem-solving abilities and social responsibility of students in Matthayomsuksa 3
Researcher Sanya Tohnu
School Pattaya City 8 School (Pattayanukul) under the Pattaya City Education Office
Research year 2021
Abstract
The objectives of this research were 1) to analyze problems and obstacles in teaching social studies, religion and culture in Mathayomsuksa 3 2) Create a teaching model based on the problem-based theory of knowledge creation to promote problem-solving abilities and social responsibility of students in Matthayomsuksa 3. 3) Experiment with a problem-based teaching model based on knowledge-building theory, to promote problem-solving abilities and social responsibility of students in Matthayomsuksa 3 and 4) to evaluate the use of problem-based teaching methods based on knowledge-building theory, to promote problem solving abilities and social responsibility of students in Matthayomsuksa 3. The sample group used in this research were consisting of 32 students in Mathayomsuksa 3/2, 2nd semester, academic year 2021, Purposive sampling. Tools used in research and data collection were questionnaires on problems and obstacles in social studies teaching. Model assessment form Problem Solving Ability and Social Responsibility measurement and a questionnaire to measure students' satisfaction with the model. Analyze the data by averages, standard deviation and t-test. The results showed that
1. The results of the study of problems and obstacles in teaching social subjects Mathayomsuksa 3 students from the conversation with the teachers, found that most of the teachers taught by describing the content according to the book. Lack of new teaching techniques and methods causing students to be afraid to express their opinions or practice solving problems in the classroom causing no participation in teaching because of boredom having to memorize both in the content of various subjects in different branches and some content is not actually used in daily life.
2. The results of the development of a teaching model using problem-based knowledge based on the theory of knowledge creation to promote problem-solving abilities and social responsibility of Mathayomsuksa 3 students, consisting of principles, objectives, and teaching procedures: Step 1: Identify problems Step 2: Bring understanding Step 3: Strict attention Step 4: Co-organize the rules Step 5: Leading to activities, Step 6 presents the results and Step 7 continues to evaluate and evaluation results.
3. The results of the experiment using a problem-based teaching model based on knowledge-building theory to promote problem-solving abilities and social responsibility of Mathayomsuksa 3 students, it was found that Mathayomsuksa 3 students were able to solve problems and be socially responsible. After using the model statistically significantly higher than before applying the pattern at the .05 level.
4. Assessment of the teaching model using problem-based methods according to the theory of knowledge creation. In order to promote problem-solving abilities and social responsibility of Mathayomsuksa 3 students, it was found that Mathayomsuksa 3 students were satisfied with the teaching style. Overall, it's at a high level.