รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแบบ Active Learning
สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal โรงเรียนบ้านทัพมะขาม
ชื่อผู้วิจัย นายนุก ูล สายปาน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal โรงเรียนบ้านทัพมะขาม 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal โรงเรียนบ้านทัพมะขาม 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal โรงเรียนบ้านทัพมะขาม และ 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัด การเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal โรงเรียนบ้านทัพมะขาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นครู จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 84 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากทั้งหมดเป็นจำนวนครูและนักเรียนทั้งโรงเรียน ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยและพัฒนา การวิจัยกึ่งทดลอง (Quais – Experimental Research) แบบแผนการวิจัยเป็นแบบขั้นพื้นฐาน (Pre – Experimental Design) แบบการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง (The one – Group Pretest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบบันทึก แบบตรวจสอบ แบบรายงาน และประเด็นการสนทนากลุ่ม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (Dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา ด้านความต้องการการพัฒนาครูในภาพรวมมีความต้องการระดับสูง ด้านการศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal ของครูแต่ละคนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากครูมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal ไม่มากนัก เคยเข้ารับการอบรมในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แต่ไม่เคยลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้อย่างจริงจัง ขาดเอกสารและบุคลากรที่จะช่วยให้คำแนะนำในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ครูทุกคนมีความต้องการที่จะจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal โดยต้องการให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีการสนับสนุนด้านเอกสารและบุคลากร โดยมีการนิเทศติดตาม ให้ความช่วยเหลือและฝึกปฏิบัติ จนสามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal ได้อย่างมั่นใจ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการ (R1) 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบ (D1) 3) ทดลองใช้รูปแบบ (R2) และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ (D2) ได้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal มีชื่อว่า POPRE Model มีกระบวนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 Organizing : O การจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P การดำเนินการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 Reflection : R การสะท้อนความคิด ขั้นตอนที่ 5 Evaluating : E การประเมินผลการพัฒนาครู และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ระบบสนับสนุน (Supporting Systems) การติดตาม ดูแล (Mentoring) ผลของการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อของความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ของรูปแบบ และความสอดคล้องของรูปแบบรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal มีชื่อว่า POPRE Model พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีพฤติกรรมที่แสดงออก ถึงการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal อยู่ในระดับสูง แผนการจัด การเรียนรู้มีคุณภาพในระดับสูง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความเหมาะสมในระดับมาก
4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning สำหรับผู้เรียนในยุค New Normal อยู่ในระดับมาก