เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้รายงาน นายณรงค์ฤทธิ์ แขมคำ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินรูปแบบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ4)เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรผู้ให้ข้อมูลคือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูที่ปรึกษาจำนวน 46 คน เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรและคู่มือการใช้รูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอรูปแบบผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากสภาพปัญหาที่พบคือ การนิเทศ กำกับติดตาม สภาพความต้องการคือ การนิเทศ กำกับติดตาม การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยคือ องค์ประกอบหลักที่ 1 ได้แก่ 1)ภาพความสำเร็จ 2)พันธกิจ และ 3)เป้าประสงค์ องค์ประกอบหลักที่ 2 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 1)ผู้บริหารเป็นผู้นำ 2)ครูมีเจตคติที่ดีมีความสามารถ 3)มีสื่อเครื่องมือและนวัตกรรม องค์ประกอบหลักที่ 3 กระบวนการ ได้แก่1)การวางระบบการบริหารระบบดูแล 2)การดำเนินการตามระบบดูแล 3)การวางระบบงานและกิจกรรมแนะแนว 4)การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 5)การนิเทศกับติดตามประเมินผล และ6)การผดุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน องค์ประกอบหลักที่ 4 ผลผลิต ได้แก่ 1)หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การส่งเสริมทักษะชีวิต 3) ความสามารถในการปรับตัว และ 4) การพัฒนาอย่างรอบด้านของนักเรียน องค์ประกอบหลักที่ 5 การประเมินผล ได้แก่ 1) ประเมินปัจจัยนำเข้า 2)ประเมินกระบวนการ และ3)ประเมินผลผลิต องค์ประกอบหลักที่ 6 ย้อนกลับปรับปรุง ได้แก่ 1)ปรับปรุงปัจจัยนำเข้า 2) ปรับปรุงกระบวนการ และ 3)ปรับปรุงผลผลิต องค์ประกอบหลักที่ 7 เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1)ผู้บริหารและทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ให้การสนับสนุนครูและผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักและให้ความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีเจตคติที่ดีมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียน และ 3)ภาคีเครือข่ายคณะกรรมการดำเนินงานทุกคณะมีการประสานกันอย่างใกล้ชิดให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. การประเมินรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
4. การนำเสนอรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนไตรมิตรในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่เห็นว่าโครงสร้างของรูปแบบมีความเหมาะสมมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย มีระบบการย้อนกลับปรับปรุงการนำเสนอด้วยแผนภูมิสามารถสื่อสารได้เข้าใจชัดเจน เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ