การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการคิดอย่างมีวิจา
ผู้วิจัย: นางชมพูนุท สุขรมย์ โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา: 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนครบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยเทคนิค KWL Plus จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค KWL Plus วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ dependent-samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
2. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus พบว่า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 80.46 สรุปได้ว่านักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค KWL Plus โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.30, S.D.= 0.30)