การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ โรงเรียนวัดทัพหลวง
โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครปฐม เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน นายเกรียงศักดิ์ เร้ารุจา
ปีที่ทำการประเมิน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และ4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ คณะครู จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 136 คน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 136 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และ การเก็บรวบรวมเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย (x-bar) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Window
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ
1.1 ความคิดเห็นของคณะครู ต่อผลการดำเนินการด้านบริบทของโครงการ อยู่ในระดับมาก (mu =4.33) พบว่า โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน เกิดจากความต้องการของบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน( mu=4.44) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียนมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) (mu =4.44) และโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( mu=4.44) เท่ากัน และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม (mu=3.88)
1.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อผลการดำเนินการด้านบริบทของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar =4.52) พบว่า กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์) สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (x-bar=4.66) และโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม (x-bar =4.66) เท่ากัน และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน ตอบสนองต่อการส่งเสริมคุณภาพของนักเรียน (x-bar =4.33)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า จากความคิดเห็นของคณะครู มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (mu =4.49) พบว่า ผู้บริหารกำหนดขอบข่ายหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้รับผิดชอบโครงการได้อย่างชัดเจน(mu =4.67) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความสามารถเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของโครงการ (mu =4.54) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ผู้บริหารสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ดำเนินงานของโครงการอย่างเพียงพอและตามความต้องการ (mu =4.00) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน จากความคิดเห็นของคณะครู ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก( mu=4.23) พบว่า ผู้บริหารมีการประเมินผลของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และมีการจัดเก็บของมูลอย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการนำไปใช้ปรับปรุงพัฒนา (mu =4.46) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารนิเทศ ติดตาม ควบคุมดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอน (mu =4.46) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการตามแผนและขั้นตอนการดำเนินงานที่ว่างไว้ในโครงการ (mu =4.06) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต
4.1 ความคิดเห็นของคณะครู เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mu=4.35) พบว่า นักเรียน มีการวางแผนการเรียน การทำงาน ของตน ในพื้นฐานของความรอบรู้ ของข้อมูล และข่าวสาร (mu=4.61) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีสัมมาคารวะ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ (mu=4.53) และ นักเรียนชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ (mu=4.51) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีพื้นบ้านและวัฒนธรรมไทย (mu =3.94) โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 ความคิดเห็นของนักเรียน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar =4.26) พบว่า นักเรียนเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (x-bar =4.53) อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีการวางแผนการเรียน การทำงาน ของตนในพื้นฐานของความรอบรู้ ของข้อมูล และข่าวสาร (x-bar =4.46) และนักเรียนมีสัมมาคารวะ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ (x-bar =4.46) เท่ากัน และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย (x-bar =3.93) และนักเรียนช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ (x-bar =3.93) เท่ากัน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.3 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x-bar =4.21) พบว่า นักเรียนมีการวางแผนการเรียน การทำงาน ของตนในพื้นฐานของความรอบรู้ ของข้อมูล และข่าวสาร (x-bar =4.61) และนักเรียนร่วมกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีพื้นบ้าน และวัฒนธรรมไทย(x-bar =4.61) เท่ากัน อยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ (x-bar =4.51) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนจัดตารางการทำงานและอ่านหนังสือล่วงหน้า เป็นประจำ (x-bar =3.89) โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด