บทสรุปโครงการการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา อำเภอแม่ฟ้าหลวง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวกมลลักษณ์ จันทร์หลวง
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา อำเภอแม่ฟ้าหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนา อำเภอแม่ฟ้าหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2563 ตามรูปแบบการประเมินซิปโมเดล (CIPPiest Model) ในเรื่อง การประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) (แยกเป็นการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การประเมินความยังยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวมจำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 10 ฉบับ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางพร้อมคำอธิบายประกอบ โดยมีผลของการประเมิน ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมหรือบริบทของโครงการ (Context Evaluation) โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ กิจกรรมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ กิจกรรมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ถือเป็นหน้าที่หลักของโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ งบประมาณ ของโรงเรียนสามัคคีพัฒนาเพียงพอต่อการดำเนินงานการจัดกิจกรรมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศด้านการดำเนินงานการจัดกิจกรรมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เพียงพอและเป็นปัจจุบัน
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนได้นำผลการจัดกิจกรรมมาทบทวน วิเคราะห์ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนได้ให้กิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้การประสานงานระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
5. ด้านการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation)
5.1 ด้านการประเมินผลกระทบ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในชุมชน ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของสังคมได้เป็นอย่างดี
5.2 ด้านการประเมินผลกระทบ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีสัมพันธภาพอันดีกับครูและผู้ปกครอง ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนได้รับการเอาใจใส่จากโรงเรียนและผู้ปกครองเป็นอย่างดี
6. ด้านการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation)
6.1 ด้านการประเมินประสิทธิผล ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้ปัญหาวัยรุ่นในโรงเรียนและในชุมชนลดลง ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนสามารถดูแลรักษาตนเองให้พ้นจากภัยและสิ่งเสพติดทั้งปวง
6.2 ด้านการประเมินประสิทธิผล ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลบุตรหลานได้ดียิ่งขึ้น ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้ปัญหาวัยรุ่นในโรงเรียนและในชุมชนลดลง
7. ด้านการประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถนำหลักแนวคิดที่ได้รับจากกิจกรรมไปจัดกิจกรรมในชุมชนของนักเรียนได้ ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนยึดมั่นในแนวทางการประกอบอาชีพที่สุจริต มั่นคงและสร้างความมั่นคงของชีวิตของตนเองได้
8. ด้านการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) โดยเฉลี่ยและทุกข้อมีผลการประเมินในระดับมากและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ความสามารถต่อผู้อื่นในด้านการดูแลรักษาสุขภาพ และการเลือกประกอบอาชีพ ส่วนผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และช่วยเหลือชุมชนได้