การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้รายงาน นางซูบายด๊ะ สีละรู
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านบางลาง จำนวน 28 คน โดยดำเนินการทดลองและพัฒนาเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กิจกรรมจำนวน 24 กิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จำนวน 24 แผน แบบความเชื่อมั่นในตนเอง แบบการสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ( μ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( σ )
ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.24 / 85.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมี 8 ความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น ก่อนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างเห็นได้ชัด (3) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยโดยรวม ( μ ) มีค่าเท่ากับ 2.97 ต่อกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในระดับความพึงพอใจมาก