รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านเขาพรุเสม็ด
จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ จำแนกเป็น 1) คุณภาพการบริหารจัดการตามโครงการ 2) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนตามโครงการ 4) ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนต่อการดำเนินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านเขาพรุเสม็ด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน ประชากรครู จำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 41 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านเขาพรุเสม็ด ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านเขาพรุเสม็ด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ(Rating Scale) จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .80 - .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.34, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.70) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.29, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67)
1.1 ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.75) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.65)
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.50) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.36, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.73)
1.3 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.29, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.75) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = 4.21, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.69)
1.4 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็นความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.36, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.50)
2.ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.36, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.68) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.28, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67)
2.1 บุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.63) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.37, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.65)
2.2 งบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.42, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.58) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.63)
2.3 วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็นความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.39, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) และ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.14, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79)
2.4 การบริหารจัดการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.25, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79 และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.11, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.63)
2.5 หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานาเฉลี่ย = 4.17, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.75) และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.14, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.69)
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.72) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.21, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67) พบว่า และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.72)
3.1 การวางแผนการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.77) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.77) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.29, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.66) และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.80)
3.2 การดำเนินการตามแผน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.21, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.21, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.16, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67) และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.06, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.80)
3.3 การติดตามและประเมินผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.36, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.72) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.16, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67) และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.02, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79)
3.4 การนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจำแนกเป็น ความคิดเห็นของครู พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.61, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.80) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.61, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.80) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.24, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67) และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.09, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.86)
4.ด้านผลผลิตโครงการ จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการบริหารจัดการโครงการ พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.77) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.21, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.78) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.97, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) พบว่า และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.58)
4.2 พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.12, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67) และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.54)
4.3 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.97, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.74) และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.97, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.74)
4.4 ความพึงพอใจในการดำเนินการโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านเขาพรุเสม็ด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกเป็นความคิดเห็นของครูพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.74) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.70) ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.23, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.71) พบว่า และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.26, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67)
5. สรุปผลการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนบ้านเขาพรุเสม็ด อำเภอ
ห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม พบว่า โครงการมีความสำเร็จในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นการประเมิน พบว่า สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นการประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้รายงานขอเสนอแนะเป็น 2 แนวทาง คือ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดด้อย จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการปรับกิจกรรม ให้ตรงตามความต้องการของนักเรียน
2. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
3. ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ และควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียง ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินในรูปแบบที่หลากหลาย
2. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
3. ควรประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ควรมีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง