รายงานผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการบริหารโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยกระบวนการบริหารด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ตามความคิดเห็นของครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดีมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการตรวจสอบ ติดตาม (Check) ด้านการปฏิบัติ (Do) ด้านการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา (Action) และด้านการวางแผน (Plan) ตามลำดับ
2. ผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้
2.1 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ปีการศึกษา 2564 ได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนโดยใช้แบบบันทึกการออกเยี่ยมบ้านตามการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 929 คน ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยครูประจำชั้น คิดเป็นร้อยละ 100.00
2.2 การคัดกรองนักเรียนนักเรียนชั้นอนุบาลถึงนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ และด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติคิดเป็นร้อยละ 100.00 ด้านเศรษฐกิจ นักเรียนกลุ่มปกติคิดเป็นร้อยละ 97.52 และ กลุ่มมีปัญหาคิดเป็นร้อยละ 2.48
2.3 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่โรงเรียน ดำเนินการให้นักเรียนเข้าร่วมมี 4 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 815 คน คิดเป็นร้อยละ 87.73 กิจกรรมการตรวจปัสสาวะและสารเสพติด มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 527 คน คิดเป็นร้อยละ 56.73 กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 815 คิดเป็นร้อยละ 87.73 และกิจกรรมเพื่อนใจวัยรรุ่น มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 248 คน คิดเป็นร้อยละ 26.70
2.4 คุณลักษณะของผู้เรียน โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ หลังการดำเนินโครงการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูประจำชั้น โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี รองลงมาคือ นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และนักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งพาตนเองได้ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถและความมั่นใจของนักเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัวต่อการบริหารโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
3.1 ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดกิจกรรม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รองลงมาคือ การเยี่ยมบ้านนักเรียนของครูประจำชั้น และการดูแลเอาใจใส่ในด้านความปลอดภัย ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดกิจกรรมประเมินพฤติกรรม SDQ
3.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนในความปกครองของท่านได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ รองลงมาคือ นักเรียนในความปกครองของท่านได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านความปลอดภัย และนักเรียนในความปกครองของท่านได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านการเรียน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าของตนเอง
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนดำเนินโครงการกับหลังดำเนินโครงการ ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนการดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2563) เทียบกับหลังดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2564) ในภาพรวม เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิคณิตศาสตร์ (+3.29) รองลงมาคือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (+2.67) และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (+2.44) ตามลำดับ