นายประเชิญ ศรีสมบูรณ์ รอง ผอ.บณ. วิจัยและพัฒนา R and D
ผู้วิจัย นายประเชิญ ศรีสมบูรณ์
โรงเรียน โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตในการดำเนินงานตามโครงการ และ 5) เพื่อประเมินผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็น ( 1) คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 10 คน (2) คณะกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 12 คน (3)ครูผู้สอน จำนวน 63 คน (4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 297 คน (5) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 297 คน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย (1) แบบประเมิน (2) แบบตรวจสอบรายการ (3) แบบรายงานการจัดกิจกรรม และ (4) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. สภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการโดยรวมมีผลความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. กระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการขั้นการเตรียมการ ขั้นการดำเนินงานจัดกิจกรรม และขั้นการประเมินผล โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การจัดกิจกรรมประเภทให้ความรู้ และการจัดกิจกรรมประเภทการประกวด และการแข่งขันโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลผลิตในการดำเนินงานตามโครงการ โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการดำเนินงานตามโครงการ 1) ความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียนที่มีต่อโครงการ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตร การศึกษาดูงานสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การดำเนินการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายผู้บริหารและคณะครูต้องมีการทำวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องและมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาอยู่เสมอจัดให้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกอย่างเพียงพอ มีการนิเทศภายใน โดยผู้บริหารและคณะครูอย่างสม่ำเสมอ มีการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน และมีแผนงานการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของ สถานศึกษาที่จะเน้นการให้ความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและผู้ปกครอง
4. ผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและประโยชน์ที่ได้รับของการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่ความยั่งยืน โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ความถูกต้องและประโยชน์ที่ได้รับโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 3.92)และความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่ความยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.71)