รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถาม
ผู้รายงาน นางสาวอาตีพ๊ะ มะ
สาขา การจัดการศึกษาปฐมวัย
ปีการศึกษา 2564
รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนของชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านรามัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 มีวัตถุประสงค์ในการทดลอง ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้น (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านรามัน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้ (1) กิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนของชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 24 กิจกรรม (2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้กระตุ้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนของชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านรามัน จำนวน 24 แผน(3) แบบประเมินวัดพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 24 ข้อ เป็นแบบประเมินชุดเดียวกันทั้งประเมินก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ และ(4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Arithimetic:Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการทดลอง พบว่า
1. กิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 90.63/91.79
2. ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้นสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารและการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมอยู่ในระดับมาก