LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยฯ

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทาง ปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีการศึกษา         2563
ผู้รายงาน        ธราเดช มหปุญญานนท์
ปีที่รายงาน        ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนําเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย 1) คุณภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง 2) ระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยหลังการพัฒนาโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง 3) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง และ 4) ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 45 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.87-0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.85, 4.81, S.D.= 0.26, 0.25) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.83, S.D.= 0.26) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.76, S.D.= 0.54), และ (μ = 4.87, σ = 0.36) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่ม
ผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
(μ = 4.81, σ = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู (x ̅ = 4.80, S.D.= 0.43) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x ̅ = 4.76, S.D.= 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยหลังการพัฒนาโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 2.86, S.D.= 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านอารมณ์-จิตใจ (x ̅ = 2.93, S.D.= 0.79) รองลงมา คือ ด้านสังคม (x ̅ = 2.86, S.D.= 0.69) และด้านสติปัญญา (x ̅ = 2.86, S.D.= 0.69) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านร่างกาย (x ̅ = 2.80, S.D.= 0.59) แต่อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมพบว่าทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.86, σ = 0.35) รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅ = 4.80, S.D.= 0.38) และกลุ่มครู (x ̅ = 4.80, S.D.= 0.40) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมร่วมกับแนวคิดทุนทางปัญญาของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.90, σ = 0.26) รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅ = 4.89, S.D.= 0.27) และกลุ่มครู (x ̅ = 4.88, S.D.= 0.30) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^