ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ
ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาวนุรไอซา ดิง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
ประจำปี 2564
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental) โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบวัด 1 กลุ่ม ก่อนเรียน-หลังเรียน (One group pre-test post-test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ซึ่งผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามแนวคิดกระบวนการวิจัยแบบพหุวิธี (Multiple Methodologies) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ จำนวน 6 ชุด พร้อมคู่มือการใช้ชุดกิจกรรม 2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ มีทั้งหมด 11 แผนการจัดการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ( )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.80, S.D = 0.38)
2. จากผลการเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 39.79 คิดเป็นร้อยละ 66.32 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 57.08 คิดเป็นร้อยละ 95.14 ดังนั้น สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 28.82
3. จากผลการศึกษาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ ที่ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.33/82.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
4. จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนการเรียนรู้โดย ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 39.79 คะแนน และ 57.08 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 28.82
5. จากผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.47 S.D.=0.55)
คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้ , ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า