การพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา SAMLANG MODEL โ
1.1 ชื่อผู้เสนอผลงาน นายลีน จันทะนะ
1.2 ประเภทของนวัตกรรม ประเภทผู้บริหาร ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
2. ความเป็นมาและสภาพปัญหา
โรงเรียนบ้านสามหลังตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2465 ณ บ้านหัวข่วง หมู่ที่ 6 ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดทำการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียน 30 คน ต่อมาย้ายมาที่บ้านสองแคว หมู่ที่ 4 ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลสองแคว ต่อมาปี พ.ศ.2490 จึงได้ย้ายมาสร้าง ณ ที่ดินปัจจุบันซึ่งมีเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา โดยที่ดินดังกล่าวได้รับบริจาคจากนายตุ้ย ชัยมงคล และนายแก้ว วงศ์คำมา อาคารหลังแรกเป็นแบบใต้ถุนสูงขนาด 3 ห้องเรียน ต่อมาถูกพายุพัดพังเสียหาย ทางคณะกรรมการศึกษาจึงได้นิมนต์ ครูบาอภิชัย (ขาวปี) มาเป็นประธานสร้างอาคารเรียนขนาด 8 X 36 เมตร 4 ห้องเรียน สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2494 สิ้นทุนทรัพย์ 60,000 บาท ขนานนามอาคารว่า อาคารอภิชัยบูรณะในปี พ.ศ.2498 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านว่า “โรงเรียนบ้านสามหลัง (อภิชัยบูรณะ)” จนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีนายติ๊บ มณีผ่องเป็นครูใหญ่และต่อมาในปี พ.ศ.2501 นายเดชา ลาวนานนท์ได้มาทำหน้าที่ครูใหญ่แทนคนเก่า ได้พัฒนาสภาพทั่วไปของโรงเรียน จนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2504 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดทำการสอนในชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.5 – 6 – 7) พร้อมกันนี้ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ ป.1 ก ไม้ 3 ห้องเรียนและมีมุข 2 ด้านไว้รองรับนักเรียน
โรงเรียนบ้านสามหลังมีนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติไทยมากถึง ๙๐ % ของนักเรียนทั้งหมด มีปัญหาเรื่องการย้าย ของผู้บริหารโรงเรียนค่อยข้างบ่อย ทำให้ระบบ การบริหารสถานศึกษาเปลี่ยนไปตามนโยบายของผู้บริหารที่ย้ายมาโรงเรียนแห่งนี้ สิ่งที่น่าสนใจในโรงเรียนบ้านสามหลัง คือโรงเรียนยังไม่มีระบบการบริหารสถานศึกษาที่ชัดเจน และไม่มีการนำนวัตกรรมทางการบริหารสถานศึกษามาใช้ในการบริหารงาน การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนยังไม่ตรงตามเป้าหมาย ส่งผลให้โรงเรียนขาดรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มี ระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือการศึกษาบริบทของสถานศึกษา วิเคราะห์องค์กร (SWOT) เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส อุปสรรคต่าง ๆในการบริหารจัดการสถานศึกษา และนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารโรงเรียนด้วยนวัตกรรมทางการบริหารสถานศึกษาแนวใหม่ ผู้จัดทำจึงมีความประสงค์ที่จัดสร้างนวัตกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาสถานศึกษา SAMLANG MODEL โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ขึ้น เพื่อให้เป็นนวัตกรรมที่นำมาแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ให้มีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ส่งผล ให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม
๔. กลุ่มเป้าหมาย/ประชากร
กลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านสามหลัง จำนวน 9 คน ครู จำนวน 1๗ คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านสามหลัง จำนวน ๒๔ คน ในโรงเรียนบ้านสามหลัง อำเภอดอยหล่อสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔ ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน ๕๐ คน
ด้านปริมาณ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาในระดับ มากขึ้นไป
2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงขึ้น ร้อยละ 8๕
3. ผู้ปกครองไว้วางใจ นำบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนในปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๓
ด้านคุณภาพ
โรงเรียนบ้านสามหลังมีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ดี คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ผู้เรียนมีคุณภาพ ผู้ปกครองไว้วางใจในการบริหารสถานศึกษาส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนที่โรงเรียนบ้านสามหลังเพิ่มขึ้น
https://drive.google.com/drive/folders/12yB5RoaZsQABIW7L6cbHL8YTuJ0hnuH-?usp=sharing