รายงานการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดย จิรพงศ์
ภายในโรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563
ผู้วิจัย ว่าที่ ร.ต.จิรพงศ์ นารนุกุล
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านเขาจันทร์
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการและผู้สนับสนุนโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการจำแนกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ การวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ 4.1 คุณภาพการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 4.2 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 4.4 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินการโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 4.5 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ONET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และผลการประเมินความสามารถในการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม เพื่อทราบเกี่ยวกับระดับความต้องการความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัดและความเป็นไปได้ของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า เพื่อทราบระดับความพร้อมและความเพียงพอของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ ความเหมาะสมการบริหารจัดการ และผู้สนับสนุนโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ เพื่อทราบระดับความเหมาะสมเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับระดับการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการที่มีต่อการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ฉบับที่ 7 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง ฉบับที่ 8 แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 – 2563 ฉบับที่ 9 แบบบันทึกผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐาน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง ฉบับที่ 10 แบบบันทึกผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออก(RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามสภาพจริง ฉบับที่ 11 แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง ฉบับที่ 12 แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งนำเสนอเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยาย
ผลการประเมินโครงการพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย ( =4.56, S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด 2)ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น ( = 4.62, = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวมครูมีความคิดเห็น (= 4.87 , = 0.30) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด 4)ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น 4.1ระดับคุณภาพการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ระดับคุณภาพการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76 , = 0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกรายประเด็นตัวชี้วัด
4.2ระดับความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.67 , S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.70 , S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.66 , S.D. = 0.44 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน 4.3 ระดับความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่าระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อโครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61, = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน4.4ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำแนกเป็น 4.4.1 ผลการเปรียบเทียบภาพรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านยวนยาง ก่อนการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 และหลังดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2563 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมปีการศึกษา 2563 มีค่าพัฒนา +16.10 และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า คณิตศาสตร์ มีค่าพัฒนาสูงสุด +26.44 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ +24.74 มีเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา และพลศึกษา เพียงกลุ่มสาระเดียวที่ไม่มีค่าพัฒนา -4.75 4.4.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2562 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.45 ปีการศึกษา 2563 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.05 โดยรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น +10.5 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/วิชาที่ทดสอบ พบว่า กลุ่มภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นสูงสุด + 18.42 รองลงมาได้แก่ กลุ่มภาษาไทย เพิ่มขึ้น +14.13 ส่วนกลุ่มคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นต่ำสุด +1.17 ผลการเปรียบเทียบ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านยวนยาง ก่อนดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 และหลังดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทุกระดับการจัดการศึกษา (ระดับประเทศ และระดับสพป. สงขลา เขต 2) ปีการศึกษา 2563 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2562 ทุกระดับ โดยโรงเรียนบ้านยวนยาง มีค่าพัฒนา +10.60 สูงสุด 4.4.3ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านยวนยาง หลังการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.00 มีคุณภาพ อยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายความสามารถ พบว่า ความสามารถด้านภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 56.00 อยู่ในระดับดี รองลงมาได้แก่ ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ร้อยละ 34.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ผลเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านยวนยางกับระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โรงเรียนบ้านยวนยาง มีคะแนนเฉลี่ยรวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน ร้อยละ 45.00 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.46 ส่วนระดับประเทศ มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ร้อยละ 43.97 4.4.4ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนบ้านยวนยาง หลังการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2563 รวม 2 สมรรถนะ มีค่าคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 91.14 เมื่อพิจารณาแต่ละรายการสมรรถนะ พบว่า สมรรถนะด้านการอ่านออกเสียง เฉลี่ยร้อยละ 99.71 ส่วนด้านการอ่านรู้เรื่อง เฉลี่ยร้อยละ 82.57 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของนักเรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านยวนยางกับระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ ปีการศึกษา 2563 ภาพรวม 2 สมรรถนะของโรงเรียนบ้านยวนยาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 91.14 รองลงมาได้แก่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 69.88 ส่วนระดับประเทศ เฉลี่ยร้อยละ 73.02 ตามลำดับ 4.4.5 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะสำคัญ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงสุด ร้อยละ 85.07 รองลงมาได้แก่ สมรรถนะความสามารถในการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.58 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการคิด มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 80.60. 4.6 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านยวนยาง ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 90 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักชาติ ศาสนกษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 97.01 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ซื่อสัตย์ สุจริต มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.25 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งมั่นในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ร้อยละ 91.04
คำสำคัญ: การยกระดับคุณภาพ , กระบวนการนิเทศภายใน, โรงเรียนบ้านยวนยาง
อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write&cat=10