รายงานการใช้นวัตกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline”
ผู้ศึกษา ไพรินทร์ อานนท์
ปีที่ศึกษา 2565
คำสำคัญ การอ่านจับใจความสำคัญ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline”
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของนวัตกรรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/83.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ระดับ 80/80 มีขั้นตอนการสร้างและการหาคุณภาพที่เหมาะสม โดยเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียน ศึกษาเอกสาร งานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศึกษารูปแบบและเทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” เพื่อสร้างนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาการอ่านภาษาไทย ด้วยการใช้อินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” หรือเส้นเวลา ออกแบบนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” สร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ เรื่อง ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีการหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุง พัฒนา นวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ นำแบบทดสอบไปทดสอบกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และทดสอบหลังเรียน เมื่อนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย จึงทำให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการใช้นวัตกรรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” จากผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.2 และหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.7 สรุปได้ว่า ผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้น นวัตกรรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” เป็นเครื่องมือที่สามารถพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และได้ลงมือปฏิบัติจริง สามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนำเสนออินโฟกราฟิก รูปแบบ “Timeline” ในระดับ มากที่สุด