LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ

usericon

ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต

ผู้ประเมิน : นางสาวปาริชาติ วิสุทธิชาติ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ

สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต

ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564

บทสรุปผู้บริหาร

การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ประจำปีการศึกษา 2564 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และนโยบายของสถานศึกษา 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับการจัดทำแผนการนิเทศภายใน ภาวะผู้นำของผู้บริหารในการแต่งตั้งคำสั่งการนิเทศภายใน งบประมาณและทรัพยากร และการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการนิเทศภายใน 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบการนิเทศภายใน ปฏิทินการนิเทศภายใน การประเมินและตรวจสอบคุณภาพการนิเทศภายใน การติดตามผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับด้านคุณภาพนักเรียนด้านสมรรถนะของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ และด้านความพึงพอใจการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ

ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ โครงการดังกล่าวได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการจำนวน 299 คน มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ จำนวน 169 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการเป็นแบบประเมินการดำเนินโครงการ และแบบประเมินความพึงพอใจการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้

ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินบริบท ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการมีข้อคำถามจำนวน 8 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.88 ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ ข้อคำถามจำนวน 12 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 7 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ มีข้อคำถาม จำนวน 9 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา

ฉบับที่ 6 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู มีข้อคำถามจำนวน 13 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ประเมินโดยนักเรียน

การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามตามประเด็นการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 17.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ จำนวน 8 ข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไปทั้ง 8 ข้อ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.550 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผู้บริหารตระหนักให้ความสำคัญต่อโครงการนิเทศการภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อมีความเหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.81 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.445 รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.536 ตามลำดับ

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 12 ข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไปทั้ง 12 ข้อ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.620 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการนิเทศการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ มีความเหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.536 รองลงมาคือโรงเรียนมีการจัดทำแผนการนิเทศและติดตามผลการดำเนินงาน คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.69 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.466 ตามลำดับ

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ จำนวน 12 ข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีขึ้นไปทั้ง 12 ข้อ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.556 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า โรงเรียนมีการกำกับ ติดตาม และนิเทศการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอมีความเหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.490 รองลงมาคือ โรงเรียนมีการยกย่องชมเชยผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรมเมื่อประสบผลสำเร็จ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.536 ตามลำดับ

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีมากทั้ง 7 ประเด็น โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.565 รองลงมาคือ ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนคิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.639

5. ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ พบว่า โดยรวมเฉลี่ยทุกด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.539 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในแต่ละด้านตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือ ด้านการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของผู้นิเทศ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.422 รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อคณะกรรมการนิเทศภายใน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.470 ตามลำดับ

6. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู พบว่า โดยรวมเฉลี่ยทุกด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.37 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.567 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในแต่ละด้านตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือ ครูจัดกิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ มีระดับความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.93 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.262 และรองลงมาคือ นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข มีระดับความพึงพอใจรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 4.84 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. เท่ากับ 0.367 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนและคณะครูและบุคลากรใส่ใจในเรื่องการเรียนและชี้แจงข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับโรงเรียนให้ทางบ้านรับทราบโดยตลอด
2. การนิเทศภายในโรงเรียนเกิดผลดีต่อการพัฒนาผู้บริหารและครูให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้นจะเป็นผลดีต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้ดีขึ้นในอนาคต
3. การที่ครูมีภาระงานเยอะทำให้ครูที่เข้านิเทศไม่ได้เข้าร่วมนิเทศตามตารางที่กำหนด
4. การลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับด้านงานจัดการเรียนการสอนเพื่อจะได้จัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
5. โรงเรียนควรสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนอย่างยั่งยืน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^