รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ CGBL
ผู้วิจัย : นางสาวเกวลิน ศรีใสย์
ปีที่วิจัย : 2564
คำสำคัญ : เรขาคณิต 2 มิติ / Computer Game Based Learning : CGBL
อ่านต่อได้ที่: https://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-edit&qid=84988
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมรูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning : CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เรื่อง รูปเรขาคณิต 2 มิติ (รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning: CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเมืองสาตร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้นวัตกรรม
รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning : CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา มีทักษะในการแก้ปัญหา มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและคิดอย่างเป็นระบบ มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี ทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนแบบ Active Learning
ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมรูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning : CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการสร้างนวัตกรรมรูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning : CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้สำเร็จตามกระบวนการ มีการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ผลปรากฏว่านวัตกรรม
รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning : CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เรื่อง รูปเรขาคณิต 2 มิติ (รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการใช้นวัตกรรมสูงกว่า ก่อนใช้นวัตกรรม ส่งผลให้นักเรียนสามารถจำแนกรูปเรขาคณิต 2 มิติได้อย่างถูกต้อง มีทักษะในการแก้ปัญหา มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและคิดอย่างเป็นระบบ มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี ทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning: CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรม รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning : CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
ผลจากการใช้นวัตกรรม จากผลการนำนวัตกรรมรูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning: CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา มีทักษะในการแก้ปัญหา มีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและคิดอย่างเป็นระบบ มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยี ทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น มีประเด็นที่น่าสนใจ นํามาอภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้ 1. สมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของผู้เรียนหลังการใช้นวัตกรรม รูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning: CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงขึ้น แสดงว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เป็นฐาน สามารถส่งเสริมสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การการใช้เกมมาเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) ทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนแบบ Active Learning ซึ่งสอดคล้องกับ ธนเทพพร เดชประสา, 2558 ที่กล่าวไว้ว่า เกมคอมพิวเตอร์เป็นผลผลิตหนึ่งจากความก้าวหน้าของการผสมผสานเทคโนโลยี (Technology Convergent) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายแรกเริ่มเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความบันเทิงให้แก่ผู้เล่น เนื่องจากลักษณะสำคัญของเกมคอมพิวเตอร์ที่มีสีสันสวยงาม มีความท้าทาย สามารถดึงดูดความสนใจ และสร้างแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกให้แก่ผู้เล่นได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อและเล่นได้เป็นเวลานาน คุณสมบัติที่ดีของเกมคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Games for Instruction) โดยนําเกมคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของ ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันเพื่อพัฒนา และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Cognitive) ด้านเจตคติ (Attitude) และด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor) อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. จากผลการนำใช้นวัตกรรมรูปเรขาคณิตพิชิตด้วยเกมคอมพิวเตอร์ (Computer Game Based Learning: CGBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน พบว่า นักเรียนสามารถจำแนกรูปเรขาคณิต 2 มิติ ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม และวงรี ได้ดียิ่งขึ้นจากการได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งนักเรียนสามารถเล่นเกมคอมพิวเตอร์ได้ซ้ำ ๆ จนสามารถได้คะแนนที่ตนเองพึงพอใจ จึงเป็นการฝึก และสามารถทำความเข้าใจกับเรื่องที่เป็นไปในตัวได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับระดับของตน และยังการสร้างแรงบันดาลใจใน การเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนมีความพยายามและมุ่งมั่นมากขึ้น และส่งผลให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นตามลำดับ ในนวัตกรรมชิ้นนี้ได้ให้อิสระกับผู้เรียนในการมีบทบาทในการเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน