เผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนานักเรียนที่มีปัญหารายบุคคล
ชื่อผู้วิจัย : ว่าที่ร้อยตรีชัยวัฒน์ ภีระมูล
ปีการศึกษา : 2562
การพัฒนานักเรียนที่มีปัญหารายบุคคล กรณีของ เด็กชายจักรชัย ดิโพ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
(1) ปัญหาที่โรงเรียน
- ไม่ชอบทำงานส่ง ชอบให้ผู้อื่นทำงานให้
- หลบงาน
- ขาดน้ำใจ
- ชอบคบเพื่อนเกเร
(2) ข้อดีที่ต้องพัฒนา
- ทำงานจริงจังเมื่อถูกควบคุม กำกับ
- ชอบปฏิบัติ มากว่าใช้ความคิด
- กลัวผู้ปกครอง และครู
ความเป็นมาของการศึกษา
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูจะต้องพัฒนาแก้ปัญหาผู้เรียนควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองไปสู่การมีชีวิตที่ดีในอนาคตของชาติอันจะเป็นการสนองต่อการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 โดยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
ในกรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้ศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้งในและนอกห้องเรียนตลอดจนได้ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน พบปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนาหลายประเด็น ซึ่งผู้ศึกษาได้มาช่วยแก้ปัญหาและพัฒนา ส่งเสริมด้วยวิธีการต่างๆ ตามศักยภาพของนักเรียนและตามความสามารถที่ผู้ศึกษาจะแนะนำและช่วยเหลือได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง สังคมส่วนรวมส่งผลต่อการจัดการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บรรลุเป็นไปตามจุดมุ่งหมายได้
จุดประสงค์เพื่อ
1. พัฒนาช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา และสิ่งที่มีพฤติกรรมดีอยู่แล้วไปสู่ความสำเร็จ
2. สร้างความศรัทธา ความไว้วางใจต่อนักเรียน ผู้ปกครองครอง ชุมชน
วิธีการศึกษาช่วยเหลือและพัฒนาส่งเสริม
1. ร่วมกับผู้บริหาร เพื่อนครูในโรงเรียนชาวบ้าน ชุมชน เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันพัฒนา แก้ปัญหา
2. มอบให้เพื่อนนักเรียนอื่นที่มีพฤติกรรมดีเป็นแบบอย่างได้ช่วยสอดส่องดูแล แนะนำ
3. ผู้ศึกษาแนะนำเสนอแนะทั้งส่วนตัว ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน เช่น การเรียนต่อ การทำงาน การประพฤติปฏิบัติตนในเรื่องต่างๆ
4. สร้างความมั่นใจต่อการทำความดี สู่อนาคตที่ดี
กรณีพฤติกรรมที่เคยปรากฏ ของ เด็กชายจักรชัย ดิโพ
ภูมิลำเนาบ้านปางเบาะ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
* เมื่อเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เป็นระยะที่เกิดปัญหามาก เช่น
1. ไม่ชอบทำงานส่ง ชอบให้นักเรียนคนอื่นทำให้ โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เพราะมีการบังคับให้เพื่อนผู้หญิงในชั้นเรียนทำให้ โดยทำงานที่ครูมอบหมายให้ทุกอย่าง แต่ไม่มีครูคนใดสังเกตได้เลยในระยะแรกๆ เช่น การบันทึกรายงาน การเขียนรายงาน การทำชิ้นงานส่งเป็นต้น แต่ตัวเองจะนั่งเล่นหรือคอยหลบ หลีกเลี่ยง เพื่อนในห้องทุกคนรู้ดีแต่ไม่มีใครกล้าบอกครู จนมาถึงระหว่างภาคเรียนที่ 2/2562 ผู้ศึกษาสังเกตเห็นว่า เด็กชายจักรชัย ดิโพ คอยหลบหรือออกไปนอกห้องเรียน ไม่ช่วยงานกลุ่ม แต่หมดชั่วโมงมีงานส่งจึงพบว่า ตัวหนังสือบันทึกงานทั้งหมดเป็นตัวหนังสือนักเรียนหญิง แต่เป็นชื่อเด็กชายจักรชัย ดิโพ จึงสอบถามนักเรียนคนหนึ่งจึงทราบรายละเอียดทั้งหมด
วิธีแก้ปัญหา
1.ว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งบอกบทลงโทษแก่นักเรียน
2.ตักเตือนภาพรวมหน้าเสาธง บอกผลเสียที่เกิดขึ้นต่อตัวนักเรียนเอง
3.ตักเตือนเพื่อนนักเรียน หามาตรการลงโทษ เช่น หากพบนักเรียนคนใดเขียนงาน ทำงานให้ จะลงโทษผู้ทำให้ มากกว่าผู้ถูกทำให้และจะไม่ประเมินคะแนนให้เด็ดขาด เพราะการทำงานให้เพื่อนเหมือนส่งเสริมให้เพื่อนโง่
ผลการแก้ปัญหา
หลังจากนั้นมา พบว่า เด็กชายจักรชัย ดิโพ ทำงานเองแทบสะกด เขียนไม่ได้เลยเพราะเหมือนกับเขาไม่ได้เรียนมา ทำงานส่งไม่เป็น เป็นผลให้ในปีการศึกษา 1/2562 ได้คะแนนหรือเกรดแต่ละวิชาค่อนข้างน้อย แต่ก็ให้กำลังใจกับเขา ให้เขามีความพยายามต่อไป บางครั้งเขาท้อแท้ หนีเรียน พยามเข้าใจเขาพร้อมกับร่วมมือกับผู้ปกครอง จนในที่สุดเขาลงมือเองแต่ก็ยังถือว่าเขายังไม่มั่นใจในตนเอง แนะนำเขาเข้าพบครูที่ไม่ส่งงานและให้ส่งงาน
2) ชอบคบเพื่อนเกเร
ในปีการศึกษา 2562 พบว่า เด็กชายจักรชัย ดิโพ ชอบคบเพื่อนเกเร เช่น มาโรงเรียนสาย หลบแถวไม่ชอบให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของโรงเรียนและหนีเรียนอยู่บ่อยๆ
แก้ปัญหาโดย
- ปรึกษาครูประจำชั้น ครูผู้สอนในรายวิชาอื่นๆ และขอคำปรึกษากับผู้บริหารในโรงเรียน
- เยี่ยมบ้าน พบผู้ปกครอง หามาตรการช่วยเหลือร่วมกัน
- แยกจากกลุ่มเพื่อน โดยให้ไปช่วยงานในเวลาว่าง
- แต่งตั้งเพื่อนนิสัยดีดูแล ให้คำปรึกษา
- หากทำความดี ก็มีการยกย่องชมเชย พฤติกรรมดี
- ให้ความหวังในอนาคตถ้าหากมีพฤติกรรมดี
ผลการแก้ปัญหา
เด็กชายจักรชัย ดิโพ เริ่มแยกตัวออกจากเพื่อนเกเร หันมาคบเพื่อนที่ตั้งใจเรียน นิสัยดี จากการร่วมมือกับผู้ปกครอง เด็กชายจักรชัย ดิโพ จะช่วยพ่อแม่ที่บ้าน เช่น ทำงานบ้าน ทำไร่ ทำสวน ทำงาน ที่ไม่เกินกว่าแรงตนเองได้
3) หลบงาน
เด็กชายจักรชัย ดิโพ เป็นคนขาดความคิดสร้างสรรค์ไม่ค่อยคิดสิ่งใหม่ จะทำตามที่สั่ง ชอบหลบงาน ที่โรงเรียน เช่น งานรักษาความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบ มาสายเพราะกลัวจะได้ทำความสะอาด
แก้ปัญหาโดย
- เช็คชื่อผู้ไม่มาทำเวรตอนเช้า ครูเวรคาดโทษโดยการทำงานเพิ่มเติม
- พบผู้ปกครองเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
- เสนอแนะให้คำแนะนำแก่นักเรียนเป็นรายบุคคล
- หากมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยๆ จึงให้เข้าพบผู้บริหารสถานศึกษา ต่อไป
ผลการแก้ปัญหา
- มาทำหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ และตรงต่อเวลา
4) ขาดน้ำใจ
จากการสังเกตมาตลอดพบว่า เขาเป็นคนไม่รู้จักแบ่งปันให้คนอื่น คือรับฝ่ายเดียว ขาดน้ำใจ รับของแล้ว ไม่พูดขอบคุณ
แก้ปัญหาโดย
- อบรมร่วมกับเพื่อนคนอื่นในห้องเกี่ยวกับการเสียสละและความมีน้ำใจต่อผู้อื่น
- มีการยกตัวอย่างนักเรียนคนอื่นที่มีการเสียสละและมีน้ำใจต่อผู้อื่น
ผลการแก้ปัญหา
- เริ่มประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนมีน้ำใจขึ้นมาระดับหนึ่งต้องพัฒนาต่อไปอีก
สิ่งที่สังเกตได้จากการพัฒนาแก้ปัญหา
จากการร่วมมือกันแก้ปัญหาพัฒนาระห่างครู โรงเรียน ผู้ปกครอง ทำให้เกิดผลตามมา ดังนี้
1. ทำงานจริงจังเมื่อควบคุมกำกับ หลังจากที่ครูร่วมแก้ปัญหา พบว่า เด็กชายจักรชัย ดิโพ ทำงานขยันขึ้นมาก ไม่เกี่ยงงาน เมื่อไปเยี่ยมที่บ้านในจะช่วยพ่อแม่ ทำไร่ ทำสวน ตลอดเวลาที่บ้านแม่จะดูแลกำกับอย่างใกล้ชิด
2. ชอบปฏิบัติมากกว่าใช้ความคิด สังเกตการณ์เรียนเมื่อสอบถามทราบว่าไม่ชอบการเรียนโดยเฉพาะวิชาที่เบื่อหน่ายที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ อยากทำงานมากกว่าเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จะไม่เรียนต่อ อยากออกไปหางานทำ
3. กลัวผู้ปกครองและครู เมื่อศึกษาอย่างลึกซึ้ง เด็กชายจักรชัย ดิโพ ไม่ใช่เด็ก เกเร ก้าวร้าว แต่สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อนต่างหากที่ทำให้เขาหลงตัวไป เขาเป็นคนที่ดีพอสมควรเชื่อฟังครู พ่อแม่ เด็กชายจักรชัย ดิโพ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะกลัวผู้ปกครองลงโทษเป็นอย่างมาก
สรุปผลการศึกษาพัฒนา
1. เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเด็กดี มีความขยัน กตัญญู นำชีวิตไปสู่ความสุขในอนาคต
2. เป็นแบบอย่างแก่นักเรียนอื่น เป็นกรณีตัวอย่าง ถือว่าคนเราสามารถพัฒนาได้หากได้ร่วมมือกันพัฒนาอย่างจริงจัง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้พัฒนาแก้ปัญหาผู้เรียน ให้เขาเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข ตามแนว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อไป
2. สร้างความมั่นใจ ความอบอุ่นให้กับผู้ปกครอง ชุมขน ทำให้เกิดความศรัทธา ต่อครู โรงเรียน
ข้อเสนอแนะ
1. ควรหาวิธีศึกษาพัฒนา แก้ปัญหาผู้เรียน ในกรณีอื่นๆ อีก เป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคม
2. ผู้ศึกษาควรแก้ปัญหา พัฒนาอย่างจริงจัง ไม่ควรถือเอาประโยชน์จากการศึกษานี้มาเป็นตัวตั้ง ควรมีวิญญาณการเป็นครูอย่างแท้จริง เพราะการแก้ปัญหาและพัฒนาต้องใช้เวลานานมาก
อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write&cat=10