เผยแพร่บทคัดย่อ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวรัตติยา จันทร์เศรษฐ
ปีที่รายงาน : 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s Model)
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 72 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ จำนวน 1 คน ครูโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 29 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน
เครื่องมือที่ใช้มี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 เป็นแบบประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2ด้านบริบทของโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านคุณค่าและประโยชน์ของโครงการ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ ประเภทที่ 2 เป็นแบบประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง
เขต 2 ด้านการปฏิบัติตนเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ และแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ จำนวน 5 ด้าน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือที่ใช้ โดยใช้การคำนวณค่า IOC วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการ โดยใช้การคำนวณค่า ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1.ด้านบริบทของโครงการ (Context) ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการ
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือโครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินโครงการ
2.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ
ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คืองบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือมีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการอย่างชัดเจนและเหมาะสม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
4. ด้านผลผลิตจากการดำเนินโครงการ (Product)
4.1 ระดับการปฏิบัติตนเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ
ทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับดังนี้ ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการมีวินัยและความรับผิดชอบ ด้านความเมตตา และด้านความประหยัด
4.2 ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองบางบ่อทั้ง 5 ด้าน มีดังนี้ ด้านความกตัญญูกตเวที ควรส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความเคารพต่อผู้มีพระคุณและปฏิบัติตามคำแนะนำ สั่งสอนของท่าน ด้านความซื่อสัตย์สุจริตควรส่งเสริมให้นักเรียนนำสิ่งของของผู้อื่นที่ตนเองเก็บได้นำไปมอบให้คุณครูเพื่อส่งคืนเจ้าของ ด้านการมีวินัยและความรับผิดชอบ ควรส่งเสริมให้นักเรียนแต่งกายให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของโรงเรียน ด้านความมีเมตตา ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีความเมตตา กรุณา การให้อภัย และรู้จักช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการช่วยทำงานบ้านอยู่เสมอเมื่อว่างจากการเรียน ด้านความประหยัด ควรส่งเสริมนักเรียนเรื่องของความประหยัด ความพอเพียง การออม และการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายของตนเอง
5. ด้านคุณค่าและผลประโยชน์ของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สามารถรับการเปลี่ยนปลงใหม่ๆ นำมาปรับและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมอื่น