การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์
เด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
ชื่อ-นามสกุล นายปริญญา ภูหวล
ตำแหน่งปัจจุบัน ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานติดต่อ โรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
บ้านคำโพน หมู่ที่ 6 ตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ 2563
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 จำนวน 11 คน โรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ เดือนพฤศจิกายน 2562-กุมภาพันธ์ 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าสถิติ t-test (Dependent Sample) และสถิติ Nonparametric Statistics คือ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีประสิทธิภาพ 81.05/82.02
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.648 แสดงว่า เด็กปฐมวัยมีความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.80
3. คะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย พบว่า เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะทางวิทยาศาสตร์ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปรับปรุง (μ=7.64) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (μ=16.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การสื่อความหมายข้อมูล (μ=4.27) การวัด (μ=4.18) การสังเกต (μ=4.09) และการจำแนก (μ=4.00) ตามลำดับ
4. คะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย พบว่า โดยรวม เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=16.48, p=0.00) แสดงว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นทุกด้าน
5. ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย พบว่า โดยรวม เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น เท่ากับ 12.10 (t=16.48, p=0.00)
6. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ=4.40)