บทสรุปสำหรับผู้บริหารนางคมคาย น้อยสิทธิ์ (2564)
สอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ(พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการการบริหารจัดการการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทของโครงการด้วยตัวชี้วัดระดับความต้องการจำเป็นและระดับความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการด้วยตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากรและระดับความเหมาะสมของกิจกรรม ประเมินกระบวนการของโครงการด้วยตัวชี้วัดร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการและร้อยละของการติดตามโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการด้วยตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่เข้าเรียน ร้อยละของนักเรียนที่ส่งงาน ร้อยละของครูที่มีทักษะการผลิตสื่อเทคโนโลยี ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง และระดับความพึงพอใจของครู กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 196 คน ครูผู้สอน จำนวน 44 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ และ แบบบันทึกจำนวน 1 ฉบับ รวม 10 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาความสอดคล้องเครื่องมือใช้สูตร IOC และใช้แอลฟา หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่าผ่านเกณฑ์ในระดับมาก ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมดโดยประเด็นที่ผ่านในระดับมากที่สุดมี 1 ประเด็น คือ ด้านกระบวนการ ผ่านเกณฑ์ในระดับมากมี 2 ประเด็น คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและ ด้านผลผลิต ซึ่งผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ มาก
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน 11 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ร้อยละของนักเรียนที่เข้าเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.2 ร้อยละของนักเรียนที่ส่งงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.3 ร้อยละของครูที่มีทักษะการผลิตสื่อเทคโนโลยี พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับปานกลาง
4.5 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.6 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.7 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4.8 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.9 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.10 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
4.11 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินโครงการการบริหารจัดการการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ(พิบูลบำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ โดยผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 11 ตัวชี้วัด โดยประเด็นด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นด้านบริบท ประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า และประเด็นด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดย่อยในประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น จำนวนตัวชี้วัด 17 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จำนวนตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ได้ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดระดับมาก 9 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดระดับปานกลาง 1 ตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่เข้าเรียน นั้นยัง
ขาดความรับผิดชอบในการเข้าเรียน อาจเนื่องมาจากการขาดการติดต่อสื่อสานจากครูประจำชั้น หรือ การขาดอุปกรณ์สัญญาณอินเทอร์เน็ต เป็นต้น จึงควรมีการสร้างความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพิ่มที่สามารถทำให้นักเรียนมีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ หากเกิดสถานการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีก
2. จากผลการประเมินพบว่า ประเด็นผลผลิตตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ส่งงานเรียน นั้นยัง
ขาดความรับผิดชอบในการส่งงาน จึงควรมีส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถทำให้ครูประจำชั้นมีโอกาสในการเข้าถึงนักเรียนและมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างครู ผู้ปกครอง และนักเรียน หากเกิดสถานการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีก
3. จากผลการประเมินพบว่า ร้อยละของครูที่ผลิตสื่อและเทคโนโลยีนั้น ครูทุกคนผลิตสื่อการ
เรียนการสอนออนไลน์ตามข้อตกลงเบื้องต้น กล่าวคือ ครูผลิตสื่อคนละ 1 ชื้น/1 ภาคเรียน ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้นครูควรผลิตสื่อด้านเทคโนโลยีมากกว่า 1 ชิ้น/ภาคเรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ควรส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนผลิตสื่อนวัตกรรมด้วยตนเอง และการประเมินคุณภาพสื่อเพื่อได้สื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
4. จากผลการประเมินพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยนั้นผ่านเกณฑ์ในระดับปานกลาง คือ 6.46 % จึงควรดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ โดยการ วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยและการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผ่านมาเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยผลการสอบในระดับมาตรฐาน สาระการเรียนรู้ วิเคราะห์เกี่ยวกับความพร้อม และความเพียงพอของครูผู้สอนภาษาไทย รวมถึงการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก และให้มีความพร้อมด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
สามารถดาวโหลดศึกษารายละเอียดได้ที่นี่
https://drive.google.com/drive/folders/1dP42H3iZl_JLhf33OTkJfdrqvjuceJOy?usp=sharing