: รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคง
รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 (2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของการดำเนินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 (3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 และ (4) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ประกอบด้วย 4.1) กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี 4.2) กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย 4.3) กิจกรรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย 4.4) กิจกรรมเครือข่ายห้องเรียนสีขาว 4.5) กิจกรรมอาคารน่าอยู่น่าเรียน ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 5,895 คน โดยมีการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอนที่เป็นครูที่ปรึกษาโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 73 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ได้มาจากการคํานวนxxxส่วนจากตารางของเครจซี่และมอรแกน (Krejcie and Morgan. 1970 : 608) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 341 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ หาค่าความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผล
การประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3สรุปผลการประเมินดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความคิดเห็นการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
ความคิดเห็นการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นการประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อความมั่นคงของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด