อาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game (GBL: Games - Based Learning)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : นายกิตติพัชญ์ ทองดี
ปีที่วิจัย : 2564
คำสำคัญ : อาหาร 5หมู่ / GBL: Games - Based Learning
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม อาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game (GBL: Games - Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเมืองสาตร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเมืองสาตร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้นวัตกรรม อาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game(GBL: Games - Based Learning) เป็นฐาน ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ดำเนินการทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ นักเรียนมีพัฒนาการ เรื่อง การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ มากขึ้น มีทักษะกระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม และนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการจัดการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ นักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และสนุกสนานในการเรียนรู้ ตลอดจนความรู้และทักษะที่ได้นำไปปรับใช้ในชีวิตจริง
ผลการวิจัยพบว่า
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม อาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel gameสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการสร้างนวัตกรรม อาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game(GBL: Games - Based Learning) ได้สำเร็จตามกระบวนการ มีการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ผลปรากฏว่า นวัตกรรมอาหาร 5หมู่ สู่ food wheel game(GBL: Games - Based Learning) มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการใช้นวัตกรรมสูงกว่า ก่อนใช้นวัตกรรม ส่งผลให้นักเรียนมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการคิดและแก้ไขปัญหา มีทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ผลจากการใช้นวัตกรรม
จากผลการนำนวัตกรรมอาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game(GBL: Games - Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 มีประเด็นที่น่าสนใจ นํามาอภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้
1. ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนหลังการใช้นวัตกรรม อาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game(GBL: Games - Based Learning) สูงขึ้น แสดงว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน สามารถส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้การทำกิจกรรมลักษณะนี้ยัง เพิ่มความสนใจในการเรียนมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Learner Centeredness) ที่กล่าวไว้ว่าการจัดการเรียนรู้นั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยกิจกรรมและรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติเองทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม มีทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตจาก ซึ่งสอดคล้องกับ อมรรัตน์ เตชะนอก, 2563 ที่ได้กล่าวว่า ทักษะที่จำเป็นในสังคมความรู้ คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การจัดศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมีเป้าหมาย จำเป็นต้องพัฒนาทักษะเพิ่มเติม เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เนื่องจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับระดับของตน และยังการสร้างแรงบันดาลใจใน การเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนมีความพยายามและมุ่งมั่นมากขึ้น และส่งผลให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นตามลำดับ ในนวัตกรรมชิ้นนี้ได้ให้อิสระกับผู้เรียนในการมีบทบาทในการเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
2. จากผลการนำใช้นวัตกรรมอาหาร 5 หมู่ สู่ food wheel game (GBL: Games - Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการคิดและแก้ไขปัญหา มีทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต กล่าวคือ ธรรมชาติการเรียนรู้นั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดี หากมีประสบการณ์ตรงและได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เรียนสิ่งที่มีความหมายและได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม