การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยโดยใช้รูปแบบซิฟCIPP Model
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
ปี พ.ศ. 2564
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP MODEL) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ประกอบด้วยด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่1)แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ คือ แบบสอบถามการประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง สำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย และ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ประสานงานโครงการ เรื่อง การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับปฐมวัย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(X ̅ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด (X ̅=4.78 , S.D.=0.44) โครงการมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน เหมาะสม
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนําเข้าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(X ̅= 3.90, S.D.=0.50) เนื้อหาและช่วงเวลาในการจัด กิจกรรมเหมาะสม และผู้บริหารเห็นความสําคัญ ให้การส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.65, S.D.=0.32) การกํากับ ติดตาม ประเมินผล คลอบคลุมวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ ขั้นตอน วิธีการประเมินผล มีความเหมาะสม และการจัดกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมกับเด็ก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.79, S.D.=0.62) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีเจตคติที่ดีต่อการ เรียนรู้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการ ทดลองอย่างง่าย และเด็กมีพัฒนาการทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ
4.1 ผลการประเมิน ด้านผลกระทบโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.58, S.D.=0.52) ตราสัญลักษณ์พระราชทานที่ ได้รับเป็นหลักประกันคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ครูผู้สอนภาคภูมิใจในตรา สัญลักษณ์พระราชทานที่ได้รับและผู้ปกครองภูมิใจในตัวเด็ก
4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิผลโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.81, S.D.=0.39) โรงเรียนจัดกิจกรรมโครงการได้อย่างมีคุณภาพ
4.3 ผลการประเมินด้านความยั่งยืนโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.64, S.D.=0.25) โครงการควรมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ครูผู้สอนและผู้ปกครองพร้อมให้ ความร่วมมือ สนับสนุนการดําเนินโครงการต่อไป
4.4 ผลการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 3.92, S.D.=0.26) โรงเรียนประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้อง รับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย โครงการสามารถเป็นแบบอย่างขยายผลให้กับโรงเรียนอื่นได้ และเด็กเล่าประสบการณ์การร่วมกิจกรรมโครงการให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้