รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน บจ.3
วิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
ผู้รายงาน นายชาติชาย โชติกเดชาณรงค์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใส วิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี และ 5) การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ในครั้งนี้ผู้ประเมินได้รวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยครู จำนวน 73 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 341 คน และนักเรียนจำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี สรุปผลดังนี้
ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
ตามความคิดเห็นของครู และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ตามความคิดเห็นของครู และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ตามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยรวม อยู่ใน ระดับมาก