การพัฒนาชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับ
สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี )
ผู้วิจัย กิ่งแก้ว หงษ์ทอง
สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุยางชุม เทศบาลตำบลยางชุม อำเภอกุดจับ
จังหวัดอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี) ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี ) ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล(E.I.)ของชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี ) 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี ) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุยางชุม เทศบาลตำบลยางชุม อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี ) จำนวน 15 ชุด แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 – 4 ปี ) จำนวน 17 แผน และแบบทดสอบวัดความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบสมมุติฐานเป็นการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ของ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกโดยใช้ t – test แบบ Dependent การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการทดลองแบบ Non – randomized Control – Group pre – test Design
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับ
ชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี)ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.19/91.43 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) มีค่าเท่ากับ 0.8261 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.8261 หรือคิดเป็นร้อยละ 82.61
3. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3 - 4 ปี)พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05