รายงานการประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่ม
ยุวเกษตรกรใน โรงเรียนวัดบ้านดาบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผู้ศึกษา พสิษฐ์ รติสกุลดิลก
ปีที่ศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่ม ยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาความสามารถในการ ใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองของ ยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ และยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวน 113 คน จำแนกเป็น ครู จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองของ ยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ จำนวน 50 คน และยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบทดสอบ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.62 , S.D. = 0.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 9 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (X ̅ = 4.92 , S.D. = 0.27) รองลงมาคือ กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการ มีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (X ̅ = 4.85 , S.D. = 0.37) และวัตถุประสงค์ของโครงการ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (X ̅ = 4.77 , S.D. = 0.43) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ โครงการมีความสำคัญในการสนับสนุนการจัดการศึกษา (X ̅ = 4.38 , S.D. = 0.65) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.65 , S.D. = 0.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 5 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา (X ̅ = 4.92 , S.D. = 0.27) รองลงมาคือ ความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการของหน่วยงานอื่น (X ̅ = 4.85 , S.D. = 0.37) และความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ (X ̅ = 4.77 , S.D. = 0.43) ส่วนรายการ ที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการของเครือข่ายผู้ปกครอง และครู (X ̅ = 4.46 , S.D. = 0.51) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.62 , S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 16 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การกำหนดกิจกรรมโครงการเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา (X ̅ = 4.97 , S.D. = 0.16) รองลงมาคือ มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ให้เอื้อต่อการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกร (X ̅ = 4.89 , S.D. = 0.33) และมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรม การดำเนินงาน และผลผลิต (X ̅ = 4.88 , S.D. = 0.37) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรม พิจารณางบประมาณ นิเทศ กำกับ และติดตามโครงการ (X ̅ = 4.42 , S.D. = 0.71) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็น และความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ โดยสอบถามจากครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และยุวเกษตรกรหลังเสร็จสิ้นโครงการ รวมทั้งการประเมินความรู้ในด้านการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบ หลังเสร็จสิ้นโครงการ
4.1 ผลการประเมินความรู้ในด้านการเกษตรของยุวเกษตรกรในการประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบด้านผลผลิต หลังเสร็จสิ้นโครงการ ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 90.00 และ ไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 10.00
4.2 ผลการประเมินทักษะในด้านการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกรในการประเมินของโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบด้านผลผลิตหลังเสร็จสิ้นโครงการโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.54 , S.D. = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ทักษะการแปรรูปผลผลิต (X ̅ = 4.59 , S.D. = 0.50) รองลงมาคือ ทักษะการปลูกพืชสมุนไพร (X ̅ = 4.55 , S.D. = 0.49) และทักษะการปลูกผักในโรงเรือนไฮโดรโพนิกส์ (X ̅ = 4.55 , S.D. = 0.45) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ทักษะการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ (X ̅ = 4.48 , S.D. = 0.45) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และยุวเกษตรกรที่มีต่อความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ในการประเมินโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.55 , S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (X ̅ = 4.56 , S.D. = 0.40) รองลงมาคือ การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น (X ̅ = 4.55 , S.D. = 0.43) และ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น (X ̅ = 4.54 , S.D. = 0.36) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด (X ̅ = 4.54 , S.D. = 0.36) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และยุวเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของกลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียนวัดบ้านดาบหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.78 , S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกร มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (X ̅ = 4.94 , S.D. = 0.24) รองลงมาคือ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติจริง (X ̅ = 4.93 , S.D. = 0.25) และโรงเรียนมีการจัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านการเกษตร (X ̅ = 4.91 , S.D. = 0.28) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ กลุ่มยุวเกษตรกรมีความรู้ในเรื่องการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ (X ̅ = 4.62 , S.D. = 0.54) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด