การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมฯ
ชื่อผู้วิจัย นางปนัดดา มักสัมพันธุ์
สถานศึกษา โรงเรียนดัดดรุณี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model 2) ศึกษาผล
การใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้
SALAO Model ด้านพฤติกรรมตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 5 ประการ ได้แก่ มีวินัย รับผิดชอบ
ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสาของนักเรียน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model ด้านผล
ที่เกิดกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 4) ศึกษาผลการ
ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO
Model ด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียน
คุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร
เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเป็นรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน
กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จากนั้นทำการสุ่ม
อย่างง่าย จำนวน 103 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ
เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
จำแนกตามระดับชั้นแล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ได้กลุ่ม
ตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2563 จำนวน 342 คน ผู้ปกครองนักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเป็น
ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบ
ประเมินการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน
ดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model แบบประเมินพฤติกรรมตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 5 ประการ
ได้แก่ มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสาของนักเรียน แบบสอบถามความ
คิดเห็นด้านผลที่เกิดกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนข
แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียน
คุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณี โดยใช้ SALAO Model ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.66, S.D. = 0.17)
2. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน ดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model จากการประเมินด้านพฤติกรรมตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน 5 ประการ ได้แก่ มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตอาสาของนักเรียน โดยครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.42, S.D. = 0.68)
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน
ดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model จากการสอบถามความคิดเห็นด้านผลที่เกิดกับโรงเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน โดยผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.48, S.D. = 0.64)
4. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน
ดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model จากการประเมินด้านความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนดัดดรุณีโดยใช้ SALAO Model พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.33, S.D. = 0.62)