รายงานการประเมินโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. การประเมินด้านบริบท (Context) พบว่า ความต้องการจำเป็นวัตถุประสงค์ของโครงการและความสอดคล้องนโยบายของหน่วยงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า โครงการนี้ช่วยให้โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ได้ทราบถึงแนวทางในการที่จะเพิ่มหรือลดกิจกรรมใดในการพัฒนานักเรียนหรือเน้นทักษะใดในการสร้างคุณภาพผู้เรียนได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้นำความรู้วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ และภาษาอังกฤษ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักวางแผนการทำงาน ฝึกการทำงานเป็นทีม โดยการระดมสมอง และฝึกการเป็นผู้นำ-ผู้ตามที่ดี และในส่วนของความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน คือ โครงการนี้มีการนำนโยบายของหน่วยงานมาบูรณาการและจัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงควรส่งเสริมด้านวิชาการให้หลากวิธีหลาย พร้อมกับบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและดำเนินโครงการต่อไป
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ผลการประเมินโครงการค่ายวิชาการ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ทุกด้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ยกเว้น ด้านงบประมาณของโครงการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก จึงควรสนับสนุนโครงการให้มีการดำเนินงานต่อไป
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process) โดยประยุกต์ใช้วงจรควบคุมคุณภาพ (Deming circle) โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.62) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การปฏิบัติกิจกรรมการดำเนินงาน ( = 4.56, S.D.= 0.61) รองลงมา คือ การตรวจสอบการดำเนินงาน ( = 4.55, S.D.= 0.62) การปรับปรุงการดำเนินงาน ( = 4.54, S.D.= 0.63) และการวางแผน ( = 4.46, S.D.= 0.63)
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product)
4.1 การประเมินด้านผลกระทบ (Impact) พิจารณาจากการสัมภาษณ์พบความสอดคล้องร่วมกันในการบ่งชี้ที่พบเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนคือมีเสียงตอบรับจากชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน หลังดำเนินโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเสร็จสิ้นมีการตอบรับที่ดี ส่งผลให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และได้ผลเป็นไปในทางบวก จึงถือเป็นสิ่งที่ดีที่นักเรียนมีองค์ความรู้ มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ และภาษาอังกฤษ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
4.2 การประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness) จากผลการพิจารณาผลการประเมินด้านประสิทธิผลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ระหว่าง
ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นทุกรายวิชาพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในภาพรวมระหว่างปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 90.42 และในปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 91.66 ซึ่งมีผลการประเมินเพิ่มขึ้น ผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนในภาพรวมระหว่างปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 90.42 และใน ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 91.66 ซึ่งมีผลการประเมินเพิ่มขึ้น ผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนของนักเรียนในภาพรวมระหว่างปีการศึกษา 2562 และในปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินการทดสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของรายวิชาผลปรากฏว่าทุกวิชามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ยกเว้น รายวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะนำผลไปปรับปรุง พัฒนา และทำวิจัยต่อไป
4.3 การประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจของ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.57) และมีผลการสัมภาษณ์ส่วนที่ 3
การเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นตรงกันมากที่สุด คือ การดำเนินโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสามารถทำเป็นโครงการระยะยาวได้ โดยจัดทำเป็นโครงการลงในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนทุกปีการศึกษา แล้วศึกษาเรื่องที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบันได้ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยสถานการณ์โควิด-19 การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรวม เป็นต้น (ร้อยละ 90.57)
4.4 การประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่า จุดเด่นและข้อค้นพบของโครงการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นตรงกันมากที่สุด โดยเรียง 3 ลำดับ คือ นักเรียนทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และมีความสุขตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละ 93.47) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับประสบการณ์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ (ร้อยละ 87.68) และเน้นกิจกรรมฐานการเรียนรู้ และบูรณาการการจัดการเรียนรู้เชิงรุกลงในกิจกรรม โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำด้วยตนเอง และมีการบูรณาการเกือบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ร้อยละ 82.60)