การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีฯ
โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุนันทา ปิติทโน
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๑) เพื่อพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 256๕ จำนวน ๑ ห้องเรียน ทั้งหมด ๓๕ คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๔ เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน ๓๐ ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง ๐.๒๗– ๐.๖๔ ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง ๐.๒๗-๐.๗๓ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๗๖ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์และใช้การทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลจากการศึกษาพบว่า
๑. เพื่อพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๘๖.๒๔/๘๓.๘๑ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบเอกสารประกอบการเรียนนาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะทางการแสดงนาฏศิลป์ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม (x) เท่ากับ ๔.๗๘ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ ๐.๔๓