รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่
ผู้วิจัย ว่าที่ ร.ต. วรภัทร วงษ์ปัตตา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ จำนวน 18 คน 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และตรวจสอบความตรงของรูปแบบ โดยการจัดประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 52 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โดยการจัดประชุมสรุปผลการทดลองใช้รูปแบบและเก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 117 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การส่งเสริมภาวะผู้นำ ประกอบด้วย 1) ด้านการเรียนการสอน2) ด้านการเปลี่ยนแปลง 3) ด้านส่งเสริมคุณธรรม 4) ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วม5) ด้านการบริหารจัดการ และ 6) ด้านความเท่าทันสถานการณ์ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 1) การกำหนดความรู้ที่ต้องการใช้ 2) การเสาะหาและยึดกุมความรู้ 3) การสร้างความรู้ 4) การกลั่นกรองความรู้ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 6) การประยุกต์ใช้ความรู้ องค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพครู 2) การนิเทศภายในเต็มรูปแบบ 3) การมีส่วนร่วมในการทำงานทุกขั้นตอน 4) การสร้างทีมงานและเครือข่าย 5) การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี และ 6) การส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ประกอบด้วย 1) การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนระดับโรงเรียน ได้แก่ การวางแผนและพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการหลักสูตร การประเมินหลักสูตร และการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ 2) การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนระดับชั้นเรียน ได้แก่ การออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การนิเทศและการประเมินผลการเรียนรู้ และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และองค์ประกอบที่ 5 เป้าหมายความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน 2) คุณภาพนักเรียนตามมาตรฐานสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติ และ 3) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่
2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ พบว่า
2.1 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ในภาพรวมทั้ง 5 องค์ประกอบ พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 5 เป้าหมายความสำเร็จ รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน และองค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงาน ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับต่อมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การส่งเสริมภาวะผู้นำ และองค์ประกอบที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
2.2 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ในองค์ประกอบที่ 1 การส่งเสริมภาวะผู้นำ พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารและครูสืบเสาะหาความรู้ใหม่และใช้นวัตกรรมที่เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารและครูปฏิบัติงานโดยการทำงานเป็นทีม โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ใน องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการจัดการความรู้ พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนตระหนักในการใชแหลงความรูทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนในการเขาถึงความรู โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนกิดความคิดสรางสรรคเมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูที่กอใหเกิดความรูใหมๆ ขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ใน องค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงาน พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานในโรงเรียนและการจัดการเรียนรู้ โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนได้รับการอบรมพัฒนาทักษะด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศในด้านต่างๆ โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ใน องค์ประกอบที่ 4 การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนจัดทำหลักสูตร จัดการเรียนรู้และประเมินผล คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.6 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ในองค์ประกอบที่ 5 เป้าหมายความสำเร็จ ด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและรู้แหล่งในการเรียนรู้ที่ตนต้องการ โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสื่อสารสารสนเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างมีประสิทธิผล โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.7 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ในองค์ประกอบที่ 5 เป้าหมายความสำเร็จ ด้านคุณภาพนักเรียนตามมาตรฐานสถานศึกษาและการทดสอบระดับชาติพบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม จากการเรียนรู้ผ่านโครงการ โครงงาน ผ่านการออกแบบชิ้นงานและสร้างผลผลิต โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.8 ผลการประเมินการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ในองค์ประกอบที่ 5 เป้าหมายความสำเร็จ ด้านความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน พบว่า มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการดำเนินงานสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยรายการที่มีผลการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการนักเรียนได้หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพโรงเรียนและท้องถิ่น รองลงมา ได้แก่ นักเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในการแสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย