รายงานการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางปุณยวีร์ จิตศรัทธา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียน บ้านอาจสามารถ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ โดยการใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง (n= 30) โรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามความคิดเห็นพึงพอใจ รวมทั้งการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประมวลผลข้อเป็นสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย เป็นต้น ผลการประเมินโครงการ พบว่า ด้านบริบท (Context) โดยภาพรวม พบว่า ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน สนองนโยบายพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมา ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพบริบทและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตามลำดับ และรายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม พบว่า รายการมีค่าเฉลี่ยการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ รองลงมา ได้แก่ มีความพร้อมของโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ และรายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการประเมินผลโครงการครอบคลุมวัตถุประสงค์ เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง รองลงมา ได้แก่ มีการวางแผนบริหารจัดการโครงการตามแผนงานอย่างเป็นระบบชัดเจน ตามลำดับ และรายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ กิจกรรมตามโครงการมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างเหมาะสมชัดเจน ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวม พบว่า ทุกรายการมีค่าเฉลี่ยการประเมินภายหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเพิ่มสูงขึ้น รองลงมา ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีมีประโยชน์ ตามลำดับ และรายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ มีการจัดการความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ การประเมินเจตคติความพึงพอใจ ปรากฏว่ามีเจตคติความพึงพอใจต่อโครงการยกระดับคุณภาพการใช้ทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโรงเรียนบ้านโนนโพธิ์ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ในภาพรวมมีความพึงพอใจร้อยละ 92.92 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพิ่มสูงขึ้นในเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน เมื่อเทียบเคียงการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกับปีการศึกษาที่ผ่านมา ทั้งในการวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา และระดับชาติ เช่น RT, NT และ O-NET เป็นต้น