รายงานการนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่าน
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างคู่มือนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่มีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 8 โรง ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) คู่มือนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) คู่มือการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H 4) แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H 5) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H 6) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 7) แบบประเมินเจตคติของครูที่มีต่อการนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ขอมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test ผลการศึกษาพบว่า
1 ผลการหาประสิทธิภาพของคู่มือนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่าน
คิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนรวมของการทดสอบความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนอบรม มีคะแนนร้อยละ 80.00 และคะแนนรวมหลังอบรม มีคะแนนร้อยละ 89.17 โดยภาพรวมของคู่มือการนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค 5W 1H ของครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/89.17 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้