รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ MEPONG Model (มีพงค์ โมเดล)
ผู้รายงาน นายราเชนทร์ มีพงค์
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดล MEPONG Model เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ใหม่และนำความรู้ใหม่ไปใช้แก้ปัญหาหรือสถานการณ์ปัญหา เกิดความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการ Active Learning โดยครูผู้สอนใช้ขั้นการปฎิบัติ 6 ขั้น (6 Practices) ในการวางแผนและดำเนินการให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ 6 ขั้นการปฎิบัติ ดังนี้
ขั้นที่ 1 M = Motivation คือ สร้างความสนใจในเนื้อหาที่จะสอน เพื่อกระตุ้นผู้เรียนเกิดประกายความคิดในสิ่งที่จะเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆที่เหมาะสม เช่น ของจริง แบบจำลอง สื่อ รูปภาพ ICT เป็นต้น
ขั้นที่ 2 E = Exchange ideas คือ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงออกด้วยการอภิปราย แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สนทนากับสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ โดยเน้นเป้าหมายจุดประสงค์การเรียนรู้ การปรึกษาหารือ ว่าเป็นอย่างไร ตามความเหมาะสมอาจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
ขั้นที่ 3 P = Process คือ การให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริง โดยจัดประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยยึดหลักการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการ ทำงานที่เป็นระบบ กระบวนการแก้ปัญหา/กระบวนการคิดวิเคราะห์ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลผ่าน Social Media การฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 O = Obtain & Conclusion คือ ผู้เรียนสรุปสาระสำคัญ แก่นความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เช่น เขียนสรุป พูดสรุป การถาม - ตอบสัมภาษณ์ และนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ เผยแพร่ สู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และอาจเผยแพร่ผ่านเครือข่ายออนไลน์
ขั้นที่ 5 N = New Project & Reporting คือ การนำเสนอความรู้ ผลงาน ชิ้นงาน การเขียนรายงานกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบการเขียนบทสรุป Mind map เป็นต้น
ขั้นที่ 6 G = Go to ability test คือ การเข้าสู่การทดสอบความรู้ความสามารถด้วนความรู้ (K) ด้านทักษะ (P) คุณลักษณะ (A) ว่าอยู่ระดับใด ควรมีการปรับปรุง พัฒนาอะไรบ้างโดยใช้วิธีการที่หลากหลายเช่น ข้อสอบ สัมภาษณ์ ซักถาม ทดสอบรายบุคคล ตรวจชิ้นงาน ผลงาน จัดประกวดผลงาน เป็นต้น
ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ MEPONG Model จะสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ช่วยส่งเสริมความเข้าใจในบทเรียนของนักเรียน ช่วยให้นักเรียนได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้นักเรียนอธิบายเหตุผลได้ดีขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น รวมถึงนักเรียนมีความมั่นใจในความสามารถทางคณิตศาสตร์ของตนเองมากขึ้น