การใช้กระบวนการ PLC เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงร
เพื่อชุมชนของครูโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หนองบัวลำภู เขต 2
ผู้วิจัย นางอโนมา สมันต์ศรี
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน 2) พัฒนากระบวนการ PLC และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนของครูโรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลงด้วยกระบวนการ PLC การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนและตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการสอน จำนวน 4 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการPLC โดยผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนด้วยกระบวนการ PLC กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านถ้ำช้างอินทร์แปลง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นในระยะที่ 1 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา Friedman Test และ Wilcoxon signed rank test และระยะที่ 4 การปรับปรุงกระบวนการ PLC ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย
ผลการวิจัย
พบว่า (1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 18 ข้อ และองค์ประกอบหลักที่ 2 ความสามารถในการปฏิบัติการสอนเชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน ซึ่งมีองค์ประกอบ ย่อย 6 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 17 ข้อ (2) กระบวนการ PLC ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติและเรียนรู้ ในขั้นนี้ประกอบด้วยวงรอบย่อยตามปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และขั้นสรุปผล (3) ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมกระบวนการPLC กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และกลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมกระบวนการ PLC ในแต่ละวงรอบย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05