LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

ผลการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื

usericon

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ นักเรียนจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อให้สามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง จะสังเกตได้ว่าทักษะการเขียนถูกจัดวางไว้ในลำดับสุดท้ายของทักษะทั้งสี่ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่าเพราะการเขียนจัดเป็นทักษะที่ยากที่สุด ต้องผ่านกระบวนการทางความคิดหลายขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมความคิดหรือการเลือกสรรถ้อยคำถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับความต้องการ (สุทธิรา ปลั่งแสงมาศ, 2555) ทั้งนี้การเขียนที่ดีคือ การเขียนที่มีความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ (Grammatical accuracy) มีความเหมาะสมและสละสลวยในภาษาที่ใช้ (Right Language) มีความเหมาะสมของเนื้อหา (Right Content) และมีโครงสร้างที่มีตรรกะ (Right Construction) ซึ่งทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการเขียนที่ดีต้องเป็นการเขียนที่มีประสิทธิภาพ และการมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเขียนอย่างลึกซึ้งก็เป็นวิธีการฝึกหัดที่นำไปสู่การมีทักษะการเขียนที่ดีนั่นเอง (นริสา ลาภล้ำวานิช, 2553)
ปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษในบริบท EFL (English as a Foreign Language) หรือการใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศนั้นนักเรียนจะประสบปัญหามาก เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติ ดังนั้นโอกาสฝึกฝนการเขียนภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเพื่อการสื่อสารจึงมีน้อย หรือแทบไม่มีเลยและการที่นักเรียนมีความรู้ในเรื่องของไวยากรณ์ (Grammar) แต่เพียงในภาคทฤษฎีแต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง เนื่องจากนักเรียนไทยส่วนใหญ่เรียนไวยากรณ์มาแบบไม่ได้เห็นตัวอย่างการใช้จริง หรือมีน้อยเกินไปจนไม่เห็นภาพหรือเกิดความเข้าใจถ่องแท้ ดังนั้นสำหรับนักเรียนที่เก่งไวยากรณ์แต่เพียงทฤษฎี การอ่านหรือการเขียนเรื่องขนาดยาวจึงเป็นเรื่องยาก (ขวัญตา บุญเอี่ยม, 2551) นอกจากปัญหาการใช้ไวยากรณ์แล้วการที่นักเรียนไม่รู้คำศัพท์หรือรู้คำศัพท์น้อย จึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์เฉพาะวิชาหรือที่เรียกว่า Technical Term หรือแม้แต่คำราชาศัพท์ก็มีความสำคัญเช่นกัน ตลอดจนการเรียบเรียงประโยค หรือการแบ่งประโยคไม่เป็น หรือจบประโยคไม่ได้ทำให้เนื้อหายืดเยื้อและไม่น่าสนใจก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบอยู่เสมอ (ธนพล จาดใจดี, 2544: 1-2) ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะหาวิธีการเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศให้เกิดการเรียนรู้จนสามารถเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากการเขียนจัดเป็นทักษะที่ค่อนข้างยากและมีความซับซ้อน หากครูผู้สอนยังยึดติดกับการสอนรูปแบบเดิม ๆ หรือขาดแคลนสื่อการสอนที่มีคุณภาพ ยิ่งจะทำให้การสอนเขียนซึ่งเป็นทักษะที่ยากอยู่แล้วยิ่งทวีความน่าเบื่อมากยิ่งขึ้น และทำให้นักเรียนเกิดเจตคติด้านลบต่อการเรียน นักเรียนไม่เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง จึงทำให้ความสามารถทางการเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อไป (สุมิตรา อังวัฒนกุล, 2540: 164)
จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 (รายโรงเรียน) พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมของนักเรียนโรงเรียน อัมพวันวิทยาลัยเท่ากับ 25.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.87 ซึ่งคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับระดับคะแนนของโรงเรียนในสังกัด สาระที่โรงเรียนควรเร่งพัฒนาเนื่องจากคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าระดับประเทศ ได้แก่ สาระภาษาเพื่อการสื่อสารและสาระภาษาและวัฒนธรรม และมาตรฐานการเรียนรู้ที่ควรเร่งพัฒนา ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้ ต1.1/ต1.2/ต1.3/ต2.1/ต2.2 เมื่อครูผู้สอนทำการวิเคราะห์ผลคะแนนและข้อสอบแล้วพบว่า นักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบได้ เนื่องจากไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องแปลความหมาย และเขียนคำตอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐานการเรียนรู้ ต1.2 ม.3/1 ม.3/4 และ ต 1.3 ม.3/1 และผลการบันทึกหลังสอนวิชาภาษาอังกฤษ (อ23101) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 พบว่า นักเรียนไม่สามารถเขียนหรือแต่งประโยคอย่างง่ายได้ เขียนประโยค Present Simple Tense โดยสลับตำแหน่งการวางคำในประโยค และต้องให้ครูแก้ไขหรืออธิบายการเขียนประโยคซ้ำๆ วนๆ หลายครั้ง จึงจะทำให้นักเรียนสามารถแต่งหรือเขียนประโยคอย่างง่ายได้
นอกจากนี้จากการที่ผู้วิจัยได้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษ อาจจะเนื่องด้วยเป็นวิชาที่ยาก ไม่มีความรู้พื้นฐานที่ดีพอทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการเขียน เป็นทักษะที่นักเรียนมีปัญหามากกว่าทักษะอื่น ๆ นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการใช้คำศัพท์สำนวน การใช้โครงสร้างไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง รวมทั้งด้านเนื้อหาที่นักเรียนไม่สามารถเรียบเรียงความคิดเป็นประโยคที่สื่อความหมายให้ตรงตามหัวข้อเรื่องได้ ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงต้องการที่จะพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้ทำแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเน้นเนื้อหาทางการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับหนังสือเรียนและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และยังเป็นโครงสร้างประโยคพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ติดต่อ แลกเปลี่ยนกับชาวต่างชาติได้หลากหลายช่องทางอีกด้วย ซึ่งแบบฝึกทักษะการเขียนนอกจากจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติซ้ำจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้ว ยังเสริมสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่อไป ด้วยรูปแบบของแบบฝึกทักษะที่ทันสมัย เนื้อหาเหมาะสมกับวัย ช่วยดึงดูดความสนใจให้นักเรียนเกิดความต้องการที่จะฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและมีประสิทธิภาพ



วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
สมมุติฐานของการวิจัย
1. ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย สูงกว่าก่อนเรียน
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี

ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัย ไว้ดังนี้
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 281 คน
1.2 กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
    2.1 ตัวแปรต้น (Independent Variable) ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
    2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่
        2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
        2.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย

3. เนื้อหา
เป็นสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ23101 ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่
3.1 แบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)
3.2 หลักการใช้ Present Simple Tense
3.3 โครงสร้าง Present Simple Tense (ประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ และคำถาม)
3.4 ใบความรู้
3.5 แบบฝึก
3.6 แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest)
4. ระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้เวลาทดลองจำนวน 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมด 8 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 26 มิถุนายน 2563

กรอบแนวคิดในการวิจัย
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้

ตัวแปรต้น                         ตัวแปรตาม










แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย




ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นสื่อการเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพและทักษะการเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
2. ครูผู้สอนมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียน และทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น





























บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และขอนำเสนอรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
1.1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
1.2 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.3 แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2579)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้                                        2.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget                        2.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Bruner                        2.3 ทฤษฎีสัมพันธ์การเชื่อมโยงของ Thorndike                        2.4 แนวทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (The Communicative Approach)     3. แบบฝึกทักษะ
3.1 ความหมายของแบบฝึกทักษะ
3.2 หลักการสร้างแบบฝึกทักษะ
3.3 รูปแบบของแบบฝึกทักษะ            
3.4 ประโยชน์ของแบบฝึกทักษะ
3.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง











แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
ในการจัดการศึกษาของชาติจำเป็นต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของชาติ เพียงแต่ในการนำนโยบายไปใช้นั้นสถานศึกษาต้องประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันทางประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และค่านิยมความเชื่อ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ในแนวการจัดการศึกษาตามมาตรา 22 บัญญัติว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ แดละมาตรา 24 บัญญัติว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ 1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา 3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง 4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้xxxส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ 6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2553 : 8-9)

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ แนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการยังได้กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยกำหนดให้ผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตรแล้วเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ สรุปได้ดังนี้คือ
1. ความสามารถในการสื่อสาร หมายถึง ใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด หมายถึง รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมแสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผลคุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต หมายถึง ใช้กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เรียนรู้ด้วยตนเองต่อเนื่อง ทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล จัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รู้จักปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมสภาพแวดล้อม และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี หมายถึง รู้จักเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
คุณภาพผู้เรียนด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ จุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 3-5)


แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2579)
จากวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กล่าวว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” และแนวคิดของการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติยึดหลักการ เป้าหมาย และแนวคิด ต่อไปนี้
หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กปฐมวัย วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงวัยมีโอกาสในการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้แต่ละบุคคลได้พัฒนาตามความพร้อมและความสามารถให้บรรลุขีดสูงสุด มีความรู้ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะในการทำงาน เพื่อการประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อันจะนำไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติแผนการศึกษาแห่งชาติจึงต้องกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ครอบคลุม โดยไม่ปล่อยปละละเลยหรือทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No one left behind)
หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนกลุ่มปกติ กลุ่มด้อยโอกาสที่มีความยากลำบากและขาดโอกาส เนื่องด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจและภูมิสังคม ซึ่งรัฐต้องดูแลจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาสนับสนุนผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ได้รับการศึกษาตามศักยภาพและความพร้อมอย่างเท่าเทียม กลุ่มที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งหมายรวมกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ การสื่อสารและการเรียนรู้หรือร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ รวมทั้งบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแล รัฐต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาร่วมกับเด็กปกติในกรณีที่สามารถเรียนได้เพื่อให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นในสังคม หรือจัดให้เป็นพิเศษตามระดับความบกพร่อง นอกจากนี้ บุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ รัฐต้องจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ด้วยเหตุผลสำคัญคือบุคคลที่มีความสามารถพิเศษเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ หากจัดการศึกษารูปแบบปกติอาจทำให้ไม่สามารถพัฒนาบุคคลดังกล่าวให้มีความรู้ความสามารถตามศักยภาพของเขาได้รัฐจึงมีหน้าที่ลงทุนพิเศษสำหรับบุคคลเหล่านี้และถือเป็นสิทธิของบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษที่จะได้รับบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาศักยภาพของตน แผนการศึกษาแห่งชาติจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ครอบคลุมการดูแลและพัฒนาบุคคลทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการประพฤติปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างพอเพียง เท่าทันและเป็นสุข การศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้มีทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก โดยยึดหลักความพอประมาณ ที่เป็นความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีการตัดสินใจที่มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล โดยใช้ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน พากเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพให้กับประชาชนทุกคน เป็นพันธกิจที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคมทุกภาคส่วน เนื่องจากรัฐต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการศึกษาที่ต้องครอบคลุมทุกช่วงวัย ทุกระดับการศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลาย สนองความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคลและสนองยุทธศาสตร์ชาติและความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐจึงต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษา โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆ จะได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมจัดการศึกษา เสนอแนะ กำกับติดตาม และสนับสนุนการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ตามความพร้อมเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2560 : 79-80)

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทิศนา แขมมณี (2552 : 475) ได้นิยามเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) เป็นข้อความรู้ที่พรรณนา อธิบาย ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆเกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบ แสวงหาความรู้ที่เหมาะสมกับศาสตร์แต่ละสาขา ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักการหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ทฤษฎีโดยทั่วไปประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ ดังนี้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ทิศนา แขมมณี (2551 : 64-65, อ้างถึงใน Piaget. Way Children Learn. 1983 : 45-54) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร อธิบายว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีการพัฒนาตามวัยเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง จะทำให้เกิดผลเสียกับเด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว Piaget เน้นความสำคัญการเข้าใจธรรมชาติ และการพัฒนาของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นการพัฒนาตามวัย ได้แก่
1. ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เป็นพัฒนาการช่วงอายุ 0-7 ปี
2. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม เป็นขั้นพัฒนาในช่วงอายุ 7-11 ปี เป็นขั้นการคิดของเด็กไม่ขึ้นกับการเรียนรู้จากรูปร่าง เด็กสามารถสร้างภาพในใจและสามารถคิดย้อนกลับได้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขและสิ่งต่างๆได้มากขึ้น
3. ขั้นการคิดแบบนามธรรม เป็นขั้นพัฒนาในช่วงอายุ 12-15 ปี เป็นขั้นที่เด็กคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถคิดตั้งสมมติฐานใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Bruner
ทิศนา แขมมณี (2551 : 66-68, อ้างถึงใน Bruner. The process of education. 1963 : 1-54) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจาก Piaget Bruner เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Learning) แนวคิดสำคัญของ Bruner มีดังนี้
1. ทฤษฎีการเรียนรู้
1.1 การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
1.2 การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
1.3 การคิดแบบหยั่งรู้ (Intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
1.4 แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
1.5 ทฤษฎีพัฒนาทางสติปัญญาของมนุษย์บ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือขั้นของงการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้จากการคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้ที่ซับซ้อน และเป็นนามธรรมได้
1.6 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนสามารถสร้างความคิดรวบยอดหรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.7 การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Discovery Learning)
2. หลักการจัดการศึกษา/ การสอน
2.1 กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2.2 การวิเคราะห์และจัดทำโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
2.3 การจัดหลักสูตรแบบเกลียว ช่วยให้สามารถจัดเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ จัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
2.4 ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
2.5 การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนแก่ผู้เรียน
2.6 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
2.7 การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
2.8 การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ทฤษฎีสัมพันธ์การเชื่อมโยงของ Thorndike
ทิศนา แขมมณี (2551 : 51-52, อ้างถึงใน Thorndike. Hergerhahn and Olson. 1993 : 56-57) ทฤษฎีนี้เน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Response) Edward L. Thorndike เป็นนักการศึกษาและนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องการเรียนรู้โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จนค้นพบและสรุปเป็นทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) ทฤษฎีของ Thorndike ที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปนั้นมี 3 ประการ ดังนี้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) กฎนี้ได้กล่าวถึง สภาพการณ์ที่ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะพึงพอใจ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^