LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินก

usericon

ชื่อวิจัย    การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา
โดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้วิจัย     นางสาวพิชญ์ธิกานต์ โพร้งจั่น
ปีที่วิจัย     ปี 2565
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ 4) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ เก็บรวบรวมข้อมูล 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความเหมาะสม ความถูกต้องครอบคลุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 160 คน ผู้เรียน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
    1. การศึกษาสภาพของการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การบริหารงานบุคคล โดยมีการส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด การบริหารงานวิชาการ โดยมีกระบวนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และต่ำสุดได้แก่ การบริหารงานงบประมาณ โดยมีการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด
    2. การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน พบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสม ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา x ̅ = 4.70, S.D. = 0.10 อยู่ในระดับความเหมาะสม มากที่สุด ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา x ̅ = 4.81, S.D. = 0.12 อยู่ในระดับความเหมาะสม มากที่สุด 2) ผลการประเมินความถูกต้อง ครอบคลุม ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา x ̅ = 4.81 และ S.D. = 0.21 อยู่ในระดับความถูกต้อง ครอบคลุม มากที่สุด ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา x ̅ = 4.81, S.D. = 0.21 อยู่ในระดับความถูกต้อง ครอบคลุม มากที่สุด
    3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนวัดวังหว้า ประจำปีการศึกษา 2564 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาเป้าหมายคือร้อยละ 78 จาการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 80.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครอง x ̅ = 4.49, S.D. = 0.31 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก 3) ความพึงพอใจของผู้เรียน x ̅ = 4.51, S.D. = 0.33 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
    4. การศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า 1) ความเป็นไปได้ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x ̅ = 4.52 อยู่ในระดับความเป็นไปได้ มากที่สุด และด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x ̅ = 4.59 อยู่ในระดับความเป็น ไปได้ มากที่สุด 2) ความเป็นไปได้ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา) ภาพรวม x ̅ = 4.83, S.D. = 0.31 อยู่ในระดับความเป็นไปได้ มากที่สุด 3) ความเป็นประโยชน์ ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x ̅ = 4.57 อยู่ในระดับความเป็นประโยชน์ มากที่สุด และด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x ̅ = 4.55 อยู่ในระดับความเป็นประโยชน์ มากที่สุด 4) ความเป็นประโยชน์ ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา) ภาพรวม x ̅ = 4.69, S.D. = 0.41 อยู่ในระดับความเป็นประโยชน์ มากที่สุด

คำสำคัญ     รูปแบบ การบริหารโรงเรียน โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^