การพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ
ชื่อผู้วิจัย ละออง สุหญ้านาง
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียน ที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 8 คน ได้มาด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากเลือกห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3 สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ จำนวน 16 แผน 2) เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ความบกพร่องทางการ ได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Dependent Samples) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า 1) เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.69/84.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7727 หมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 77.27 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวม เท่ากับ 4.69 SD เท่ากับ 0.47 อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่ความบกพร่องทางการได้ยินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาจัดการเรียนรู้ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น