การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า มีผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นของการจัดทำโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการและความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด / โรงเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ๆ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดบุคลากรในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และตัวชี้วัดวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ๆ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีผลการประเมินด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดการวางแผนของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดการจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ และตัวชี้วัดการประเมินผลโครงการและการปรับปรุง
มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ๆ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีผลการประเมินด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด
ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 2 ตัวชี้วัด โดยความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ตัวชี้วัดคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ และความสำเร็จของโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ๆ
5. ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โรงเรียนเคียนซาพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็น
การประเมินทั้ง 4 ประเด็น ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยประเด็นการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3 ตัวชี้วัด คือ ด้านบริบท ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ส่วนประเด็นการประเมินอยู่ในระดับมาก มี 1 ตัวชี้วัด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า