รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
หน่วยงาน โรงเรียนชุมชนวัดระโสม
ปีที่การศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อประเมินบริบทโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนชุมชนวัดระโสม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนชุมชนวัดระโสม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนชุมชนวัดระโสม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
4) เพื่อประเมินผลผลิตตามจากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนชุมชนวัดระโสม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินชิปปี (CIPP Mode! ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้งนี้ มีจำนวน 288 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 17 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 132 คน นักเรียน จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนชุมชนวัดระโสม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า
และอันดับ 3 คือ ด้านบริบทของโครงการ และด้านกระบวนการ ตามลำดับ นำเสนอรายด้านดังนี้
1.1 ด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อเรียง
อันดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด . 3 อันดับแรก ดังนี้ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โครงการมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมในยุคปัจจุบัน รองลงมา คือ ผู้ปกครองและชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ และสภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมเอื้อต่อการดำเนินงาน และอันดับ 3 คือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ย
สูงสุดจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านงบประมาณ อันดับ 3 คือ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และ ด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ
1.3 ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
รายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันตับแรก ตังนี้ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ประชุมวางแผนการดำเนินงาน สู่การปฏิบัติ รองลงมา คือ จัดทำปฏิทินปฏิบัติกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลโครงการอย่างเป็นระบบ และอันดับ 3 คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมมีความหลากหลายและกระตุ้นความสนใจ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและบุคคลภายนอกรับรู้
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระตับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อเรียง
อันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ
รองลงมา คือ ความพึงพอใจ จากการดำเนินงานตามโครงการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบผลดังนี้
1.4.1 ผลการประเมินพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ 8ประการ ของผู้เรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยดังนี้ ด้านอยู่อย่างพอเพียง ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านมีจิตสาธารณะ ด้านรักความเป็นไทย ด้านรักชาติ ศาสน์กษัตริย์ ด้านมีวินัย ด้านใฝ่เรียนรู้ และด้านซื่อสัตย์ สุจริต ตามลำดับ
1.4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจจากการดำเนินงานตามโครงการ ภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกโครงการสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีความตระหนักเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนรองลงมา คือ ครูอธิบายได้ชัดเจน และสื่อความหมายได้ดี และอันดับ 3 โครงการสามารถยกระดับพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้กับนักเรียน