LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

หัวข้อวิจัย    การเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง
โรงเรียนอนุบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย        นายวิษณุ ไชยะนา
ปีที่วิจัย        ปีการศึกษา 2564

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง โรงเรียนอนุบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ ด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนอนุบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ก่อนและหลังการเสริมสร้างความสามารถครูโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบพี่เลี้ยง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง โรงเรียนอนุบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ขั้นคือ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflect) ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบสอบวัดผลก่อนและหลังปฏิบัติการ ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูโรงเรียนอนุบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 47 คน กลุ่มตัวอย่างคือครูที่มีความสมัครใจต้องการพัฒนาตนเองด้านการวิจัยในชั้นเรียน ที่พร้อมจะรับการนิเทศแบบพี่เลี้ยง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 แบ่งเป็น 2 วงรอบ วงรอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 วงรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 30 ข้อ 2) แบบประเมินรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมี 2 ฉบับ คือ แบบประเมินรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่าย ใช้ประเมินรายงานการวิจัยในวงรอบที่ 1 และแบบประเมินรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเต็มรูปแบบ ใช้ประเมินรายงานการวิจัยในวงรอบที่ 2 3) แบบสัมภาษณ์จำนวน 2 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 1 ใช้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเพื่อสะท้อนผลการดำเนินการในวงรอบที่ 1 แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 2 ใช้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเพื่อสะท้อนผลการดำเนินการในวงรอบที่ 2 4) แบบวัดความพึงพอใจของครู จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความ สรุป และรายงานผลในลักษณะบรรยาย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ร้อยละ และใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples และการทดสอบแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
    

ผลการวิจัยพบว่า
1. เมื่อดำเนินการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง เสร็จสิ้นในวงรอบที่ 1 พบว่า ครูสามารถดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อสิ้นสุดการดำเนินการเสริมสร้างความสามารถครูในวงรอบที่ 2 พบว่า ครูสามารถดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเต็มรูปแบบอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน ทำให้ได้รูปแบบการเสริมสร้างความสามารถของครูที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารเสริมสร้างความสามารถของครูโดยการนิเทศแบบพี่เลี้ยง ครูได้รับคำปรึกษาแนะนำจากวิทยากรและผู้บริหารสถานศึกษา ครูรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์จากวิทยากร ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
2. การทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูหลังการดำเนินการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง พบว่าครูทุกคน มีคะแนนความรู้ความเข้าใจผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ร้อยละ 70) ของคะแนนเต็ม เมื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการดำเนินการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง พบว่าครูมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจหลังการดำเนินการ ( = 24.83, = 1.99) สูงกว่าก่อนการดำเนินการ ( = 13.46, = 2.08) เมื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจระหว่างก่อนและหลังการดำเนินการพัฒนาครู พบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการดำเนินการเสริมสร้างความสามารถครูสูงกว่าก่อนการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ครูมีความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างความสามารถครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, = 0.51)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^