รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
ในศตวรรษที่ 21
ผู้ประเมิน นางอรุณณารีย์ อมรศรีชัยกุล
ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ประเมิน 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1.ประเมินการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ในศตวรรษที่ 21 2. ศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมตามการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
ในศตวรรษที่ 21 3. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินงานการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ในศตวรรษที่ 21 4. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนต่อการดำเนินงานการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ในศตวรรษที่ 21
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2563 แยกออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 29 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้อำนวยการสถานศึกษาและตัวแทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 271 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 271 คน รวมทั้งสิ้น 586 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงานและด้านการปรับปรุง
2. ผลการดำเนินกิจกรรมตามการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติและด้านการตรวจสอบ
3. ผลการการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านผลกระทบ ด้านผลผลิตและด้านความยั่งยืน
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีในศตวรรษที่ 21 เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรมของโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันฯ กิจกรรมในโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้นเหมาะสมกับวัยและพฤติกรรมของนักเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้นักเรียนได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจว่ามีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองมีที่มีต่อการดำเนินงานการประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด แยกเป็น นักเรียน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ การดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา โครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและความต้องการของ นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน และ จำนวนกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ส่วนผู้ปกครอง เรียงอันดับที่มีค่ามากสุดไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ การดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา โครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและความต้องการของ นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน และจำนวนกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป