การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ T.W.I. MODELพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวสุพรรณ แลเชอ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ(ทัศนศิลป์)
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
โทรศัพท์มือถือ 08๓-oo๕๔o๔๕ E-mail : Suphanna38@hotmail.co.th
2. ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษาในศตวรรษที 21 ต้องเผชิญกับสิงท้าทายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงต่างๆเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดความต้องการกำลังคนที่มีศักยภาพสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ การศึกษาในศตวรรษที 21 จึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการคิดระดับสูงสามารถใช้พลังปัญญาจัดการความรู้ สร้างสรรค์ แก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนยิงขึ้น ดังนั้นการฝึกทักษะการคิดและกระบวนการคิด จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาสติปัญญาของนักเรียนเพื่อที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
การจัดการเรียนการสอน การฝึกฝนให้ผู้เรียนการการเรียนรู้ ต้องใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ทักษะด้านการท่องจำอีกต่อไป แต่ในสภาพปัจจุบัน ครูยังสอนด้วยวิธีการบรรยาย โดยยึดเนื้อหาจากหนังสือเรียน ไม่ได้ยึดมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด ตามหลักสูตร การสอนเป็นการสอนเนื้อหา ไม่ได้เน้นสอนกระบวนการ อันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเมื่อเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในยุคนี้จึงควรมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ และคุณลักษณะขั้นพื้นฐาน ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ รู้จักตัวเอง รู้จักโลกและมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์ มีความสำคัญสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากเป็นทักษะที่นักเรียนจะต้องนำไปใช้ในดำเนินชีวิต พัฒนากระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม สามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังสามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย ช่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เกิดแนวทางใหม่ๆในการดำเนินชีวิตในการแก้ปัญหาชีวิตและการทำงานก่อให้เกิดความสนุก เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องค้นหาวิธีการคิดใหม่ๆขึ้นมาทดแทนความคิดเก่าๆสำหรับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่มนุษย์ต้องคิดอะไรใหม่ๆอยู่เสมอย่อมเป็นเรื่องสนุกเพราะทำให้ชีวิตไม่จำเจพัฒนาสมองของคนให้มีความฉลาดเฉียบคม การฝึกการคิดหรือพยายามคิดเรื่องที่แปลกๆใหม่ๆเป็นประจำ จะทำให้เกิดความเฉียบแหลมในการคิดแก้ปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้นสร้างความเชื่อมั่น ความน่านับถือและความพอใจในตัวเองขึ้นมา เป็นจุดเน้นของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกระดับการศึกษาซึ่งศักยภาพด้านการสร้างสรรค์จะเป็นปัจจัยกำหนดให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานใด ๆ ได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะแล้วผู้เรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้ คือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐาน ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้
โรงเรียนวัดล้านตอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขนาดกลาง ได้น้อมนำหลักคิด องค์ความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการบริหาร การจัดการเรียนการสอน นักเรียนได้รับการบ่มเพาะอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ประกอบกับโรงเรียนวัดล้านตองเป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนอย่างหลากหลาย โรงเรียนจึงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของโรงเรียนในตำบล มองเห็นความสำคัญที่จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อเผยแพร่ ขยายผล องค์ความรู้ หลักคิด รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ให้กับโรงเรียนเครือข่ายและหน่วยงานที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานได้ โรงเรียนวัดล้านตองมีครูแกนนำ จำนวน 17 คน นักเรียนแกนนำ จำนวน 40 คน จากจำนวน 179 คน สามารถเป็นวิทยากรเผยแพร่ขับเคลื่อนขยายผลความรู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เชื่อมโยงกับฐานการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้นและครบทุกฐานการเรียนรู้ มีการถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้ ครบทุกฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ปลูกผักปลอดสารเพื่ออาหารกลางวัน ฐานการเรียนรู้สานฝันงานอาชีพ ฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนา และฐานการเรียนรู้หรรษาลายเมือง แต่ละฐานการเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ของฐานการเรียนรู้ การถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้ แผนฐานการเรียนรู้ แผนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใบงาน แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานการเรียนรู้ และมีแผนผังฐานในแต่ละฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนโรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ และผู้วิจัยเป็นครูผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน ผู้วิจัยจึงดำเนินการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ T.W.I. MODEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง การออกแบบลวดลายตุงล้านนา สำหรับนักเรียนเรียนรวม ช่วงชั้นที่ ๓ ภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดล้านตอง โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ ออกแบบผลงานใหม่ ให้ได้ผลงานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสวยงาม เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ อันเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 และรองรับการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่ ดี เก่ง มีสุขและดำรงชีวิตใน สังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดล้านตอง
3. วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม
3.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนเรียนรวม ช่วงชั้นที่ ๓ ของโรงเรียนวัดล้านตอง ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ T.W.I. MODEL
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้จากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ T.W.I. MODEL พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่ศตวรรษที่ 21 ภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดล้านตอง
3.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
1….เชิงปริมาณ…..นักเรียนเรียนรวมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จำนวน ๑๕ คน
2. เชิงคุณภาพ นักเรียนเรียนรวมทุกคนได้พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ มีการคิดสร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นอย่างสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมให้เกิด